ตัวอย่าง ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพ โดย กรมสรรพากร
การปฏิบัติเกี่ยวกับหีบเพลิงพระราชทาน
สําหรับกรณีที่มีการขอพระราชทานเพลิงศพ แต่ศพอยู่ต่างจังหวัด (ห่างจากสํานักพระราชวังเกิน 50 กิโลเมตร) นั้น เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพ แล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสํานักพระราชวังแล้ว หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ ทางสํานักพระราชวังจะมีหมายรับสั่งแจ้งให้เจ้าภาพศพทราบ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้แทนไปขอรับหีบเพลิงพระราชทานที่กองพระราชพิธี สํานักพระราชวัง เมื่อได้รับแล้วต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
1. ไปวางที่ศาลากลางจังหวัด อําเภอหรือหน่วยราชการที่สังกัด
ในท้องที่ หรือที่บ้านแล้วแต่กรณี ควรมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
2. เมื่อถึงกําหนดวันพระราชทานเพลิงศพ ให้ทางเจ้าภาพจัดหาเจ้าหน้าที่หรือญาติที่เป็น
ข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบเพลิงพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง (หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุท่ีจะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปตั้งไว้ด้านศีรษะศพ (บนโต๊ะ ที่ตั้งหีบเพลิงจะต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อย และห้ามมิให้นําสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เชิญคํานับเคารพศพครั้งหนึ่งแล้วจึงลงจากเมรุ
3. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น ต้องระมัดระวังกิริยามารยาทโดยสํารวม
ไม่ต้องทําความเคารพผู้ใด และไม่ต้องเชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด
4. ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทั้งประชาชน ข้าราชการ และพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีลูกหลานหรือญาติ รวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ที่รับราชการ จะแต่งกายชุดปกติขาวไว้ทุกข์ก็จะเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ
5. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุ ควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่งกายควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งกายปกติขาวไว้ทุกข์
6. ระหว่างเจ้าหน้าที่ เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น ไม่ต้องทําความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการ เจ้าหน้าที่ผู้เชิญก็มิใช่ผู้แทนพระองค์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
7. เมื่อถึงกําหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกที่มาในงานที่มีอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นประธานจุดเพลิง ประธานในพิธีจุดเพลิงที่อาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งในด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ ทั้งนี้หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป หรือราชสกุลที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งศพหรือทายาทอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้ที่เคารพนับถือแล้ว สมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน
8. ในกรณีที่มีการอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควรอ่านตามลําดับ ดังนี้
- หมายรับสั่ง แสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
- ประวัติผู้วายชนม์เพื่อประกาศเกียรติคุณ
- สํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ขั้นตอนการพระราชทานเพลิง (หีบเพลิง)
1. ผู้เป็นประธานเปิดหีบเพลิง
2. หยิบเทียนชนวนมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
3. หยิบกล่องไม้ขีดไฟจุดเทียนชนวน รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว
4. ผู้เป็นประธานถวายบังคม (ไหว้) ไปที่หน้าหีบเพลิงที่วางอยู่ หยิบธูป ดอกไม้จันทน์ เทียน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวน แล้วจึงวางไว้ใต้กลางฐานตั้งหีบศพ เป็นอันเสร็จพิธี
การขอดินพระราชทาน
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนมีอิสระในการเลือกนับถือศาสนา ซึ่งธรรมเนียมการปฏิบัติของแต่ละศาสนาเกี่ยวกับงานศพก็แตกต่างกันไป บ้างก็ใช้วิธีการเผา บ้างก็ใช้วิธีการฝังดิน ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานดินฝังศพ สําหรับผู้ที่ประกอบคุณงามความดีซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกันกับการขอพระราชทานเพลิงศพแต่มีพิธีกรรมทางศาสนาที่ใช้ดินฝัง กล่าวคือ
- เป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับปฏิบัติการขึ้นไป (ระดับ 3 เดิม) สําหรับในกรณียังไม่ได้
รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) ขึ้นไป
- บิดา มารดาของข้าราชการระดับชํานาญงานและระดับชํานาญการขึ้นไป (ระดับ 6 เดิม)
- บิดา มารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นตริตาภรณ์ ช้างเผือก (ต.ช.) ขึ้นไป
โดยดินพระราชทานจะเป็นห่อเล็ก ๆ สีขาวกับสีดํา จํานวน ๑๐ คู่พร้อมด้วยเครื่องขมาศพ ซึ่งหลังจากเจ้าหน้าที่ได้เชิญดินพระราชทานไปวางหน้าหีบศพ (ด้านศีรษะ) แล้ว ประธานในพิธีจะหยิบกระทงข้าวตอกดอกไม้ (เครื่องขมาศพ) จากพนักงานพระราชพิธีวางบนหีบศพ ก่อนที่จะหยิบห่อดินพระราชทานครั้งละ ๑ คู่ วางเรียงต่อจากเครื่องขมาศพจนครบ จากนั้นแขกและญาติมิตรจึงค่อยทําการฝังศพตอไป
ความคิดเห็น