การวางแผนงานศพ สวดอภิธรรม ฌาปนกิจ โดย ฟิวเนอรัล แพลน
top of page

Plan - Ceremony - Memorial

FUNERAL PLANS  (ฟิวเนอรัล-แพลน)

เราขอร่วมแสดงความเสียใจ หากท่านได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่เคารพรัก " ด้วยความจริงใจ "

  • วางแผนการจัดงานศพอย่างชาญฉลาด และมีเอกลักษณ์

  • สร้างความทรงจำ และเกียรติยศอันทรงคุณค่า

งานศพ > การวางแผนงานศพ

การวางแผนงานศพ

แม้ว่าคุณอาจจะไม่ได้รับรู้สิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นในงานศพของตัวคุณเอง แต่การจัดงานศพก็ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครอบครัวของคุณ เพราะพวกเขาย่อมต้องการให้คุณจากไปอย่างมีความหมาย งานศพสำหรับคนที่คุณรักยังเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการบำบัดจิตใจ เป็นเวลาที่สร้างความทรงจำแก่ครอบครัวของคุณ และกล่าวคำอำลาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่
 

เรามีข้อมูลสำหรับการวางแผนเพื่อช่วยจัดงานศพให้สะดวก และเข้าใจง่ายๆด้วยตัวเอง ได้แก่

  • ขั้นตอน และคำแนะนำในการวางแผนงานศพอย่างละเอียด

  • เครื่องมือในการวางแผนค่าใช้จ่ายสำหรับงานศพ

  • ข้อดีของการวางแผนงานศพล่วงหน้า

  • เคล็ดลับในการจัดการค่าใช้จ่ายในพิธีศพ

  • วิธีการวางแผน เพื่อจัดงานศพอย่างมีความหมาย

  • เครื่องมือทางการเงินเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายในอนาคต

หมายเหตุ: หากคุณจำเป็นต้องเตรียมงานศพสำหรับคนที่เพิ่งเสียชีวิต หรือมีผู้ที่ใกล้จะเสียชีวิตให้ข้ามไปอ่านที่ ขั้นตอนเมื่อมีคนเสียชีวิต

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ (FUNERAL INSURANCE)

ทำไมถึงต้องสำรองค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ คือ การวางแผนทางการเงิน ที่จะช่วยให้ครอบครัวของคุณมีเงินสำรอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ จะได้ไม่เป็นการสร้างภาระแก่ครอบครัว เมื่อคุณจากไปแล้ว

ควรสำรองค่าใช้จ่ายจัดงานศพไว้เท่าไหร่

ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ในประเทศไทย โดยเฉลี่ย มีค่าใช้จ่ายโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 80,000 - 200,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ครอบครัวของคุณต้องเผชิญ เมื่อคุณจากไป 

ใครควรสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ เป็นเรื่องสำคัญที่ควรคำนึงถึงสำหรับคนที่รักครอบครัวโดยเฉพาะ และต้องการวางแผนความคุ้มครองทางด้านการเงินให้กับครอบครัว

ขั้นตอนการวางแผนงานศพล่วงหน้า มีอะไรบ้าง

1. การวางแผนล่วงหน้า ถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ และแผนของคุณไม่จำเป็นต้องมีความซับซ้อน ซึ่งการวางแผนง่ายๆล่วงหน้านี้จะมีประโยชน์ต่อครอบครัวของคุณแน่นอน เริ่มต้นด้วยความต้องการพื้นฐานของตัวเอง เช่น การบริจาคร่างกาย หรือ บริจาคอวัยวะ ให้กับโรงพยาบาล หรือ เลือกทำพิธิทางศาสนาด้วยการฝังศพ หรือ การฌาปนกิจ (เผาศพ) และตัวเลือกผู้ให้บริการงานศพ หรือจะดำเนินการด้วยญาติหรือคนในครอบครัว
 

2. ประเมินค่าใช้จ่าย จากรายการของที่ต้องใช้ในการจัดงานศพของคุณ แล้วค่อยๆเปลี่ยนตัวเลือกต่างๆเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย
 

3. บอกกับครอบครัว เพื่อให้พวกเขารู้ถึงความต้องการของคุณว่าคุณอยากให้เขาจัดการอย่างไรเมื่อคุณเสียชีวิต โดยเลือกสมาชิกในครอบครัว หรือเพื่อน หรือที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้ และขอเขาให้ช่วยรับผิดชอบดำเนินการตามความปรารถนาของคุณ โดยเริ่มต้นด้วยความต้องการขั้นพื้นฐาน จากนั้นค่อยอัปเดตข้อมูลอื่นๆตามที่คุณอยากได้ ค่อยๆเพิ่มรายละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ 
 

4. ระบุรายละเอียดหรือการจัดการของพิธีศพ การกำหนดรูปแบบไว้ล่วงหน้า เช่น ฌาปนกิจ หรือ ฝัง จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับผู้ที่จะเป็นคนเตรียมการขั้นสุดท้ายสำหรับงานศพของคุณ
 

5. เตรียมค่าใช้จ่าย สำหรับงานศพของคุณไว้ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายงานศพ และค่าใช้จ่ายขั้นสุดท้ายอื่น ๆ
อาจจะเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้าจาก เงินประกันชีวิต, เงินกองทุนฌาปนกิจ, ซื้อพื้นที่สุสานไว้ก่อน, ที่เก็บโกศในวัด, หรือแม้แต่การทำสัญญากับผู้ให้บริการจัดงานศพ

 

6. จัดทำเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่สำคัญมากสำหรับการจากไปของคุณ และจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวที่คุณรัก คุณอาจจะเขียนข้อความ หรือทำพินัยกรรมที่ต้องการไว้ เพื่อความสงบเรียบร้อยของวงศ์ตระกูล และลูกหลานของคุณก็จะขอบคุณข้อมูลที่คุณได้ทำไว้ให้ทั้งหมดนี้

"การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยปกป้องครอบครัวที่คุณรักจากค่าใช้จ่ายในอนาคต"

คุ้มครองคนที่คุณรัก ในช่วงเวลาที่ยากลำบากด้วยการสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพของคุณ

ประโยชน์ของการสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพล่วงหน้า (Funeral Insurance)

คริสตัลโกลเด้น

เลือกวงเงินตามต้องการ

Funeral Insurance เป็นการวางแผนทางการเงิน (รูปแบบใหม่ของประกันภัย) โดยทางบริษัทฯ จะจ่ายเงินก้อนให้แก่ครอบครัวของคุณ ตามเงื่อนไขที่คุณเป็นคนกำนหนดเอง

Mystic ตา

ระบุผู้รับผลประโยชน์ได้

คุณสามารถเลือกได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้มากถึง 5 คน เมื่อคุณจากไป จะได้ไม่เกิดข้อพิพาทในครอบครัว

กระดาษโกลเด้น

รับประกันความคุ้มครอง

รับประกันความคุ้มครองให้กับคนไทย โดยผู้สนใจตั้งแต่อายุ 18 - 75 ปี สามารถสมัครวางแผนทางการเงินได้ และ ยินดีคืนเงินภายใน 30 วัน หากคุณเปลี่ยนใจ

Triqueta

จ่ายเงินคืนอย่างรวดเร็ว

ส่งมอบเงินแก่ผู้รับผลประโยชน์ ตามที่คุณระบุไว้ภายใน 24 ชั่วโมง คุณจึงสบายใจได้ว่า เงินที่เตรียมไว้จะสามารถนำออกมาใช้ได้ยามจำเป็น

หัวใจล็อคและพระมหากษัตริย์

ได้รับสิทธิประโยชน์ หากเสียชีวิต

กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบครัวของคุณจะได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น สูงสุด 2 ล้านบาท

โกลเด้นครา

ชั้นตอนไม่ยุ่งยาก

ขั้นตอนการทำสัญญา และการชำระเงินไม่ยุ่งยาก เจ้าหน้าที่ของเรา พร้อมที่จะให้คำแนะนำ และบริการตอบคำถาม จนกว่าคุณจะมั่นใจ

เคล็ดลับและคำแนะนำในการวางแผนงานศพ

ควรวางแผนงานศพไว้ล่วงหน้าตอนไหนถึงจะดีที่สุด
เวลาที่ดีที่สุดในการวางแผนล่วงหน้าสำหรับงานศพ คือ เวลาไหนก็ได้ เว้นแต่ตอนที่เสียชีวิตไปแล้ว งานศพอาจจะเป็นงานฉลองที่ดีที่สุดในชีวิตของคุณ ซึ่งการวางแผนล่วงหน้าจะเปิดโอกาสให้คุณตัดสินใจเลือกสิ่งที่ต้องการได้อย่างเต็มที่


การเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับงานศพ
การตัดสินใจว่าจะเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้ไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเลยจะดีไหม เรื่องนี้อาจเป็น อะไรที่คุณทำให้คุณตัดสินใจยาก แต่มีเหตุผลที่ดีมากมายในการเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับงานศพของคุณไว้ล่วงหน้า และคุณจะสบายใจกว่าเมื่อรู้ว่ามีเงินอยู่แน่ๆเมื่อถึงเวลาที่ต้องถูกใช้ และไม่เป็นภาระต่อครอบครัวที่คุณรัก ยิ่งไปกว่านั้น คุณยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของคุณล่วงหน้าได้จากการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทิ้งไป

 

การทำเอกสารสัญญาต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ข้อกำหนดทั้งหมดของสัญญาต่างๆที่ได้ทำไว้เมื่อมีการเสียชีวิตนั้น มีความครอบคลุม และรัดกุมเพียงพอ


พิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทำการชำระไว้ล่วงหน้า
เช่นเดียวกับทุกเรื่อง ทำอะไรก็ต้องมีข้อดีและข้อเสีย การชำระเงินล่วงหน้าสำหรับสินค้าและบริการงานศพ ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ที่ดิน ค่ากองทุน หรือ ค่าบริการล่วงหน้าของผู้ให้บริการจัดงานศพ ซึ่งการจะมองว่าเหมาะสมหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณเอง

รับฟรี

แบบฟอร์มและคู่มือในการเตรียมงานศพ

ขอร่วมแสดงความเสียใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และเราจะจัดส่งแบบฟอร์มกลับไปให้อย่างเร็วที่สุด

คำถามที่พบได้บ่อย เกี่ยวกับการวางแผนงานศพ การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ และ เงินฌาปนกิจ

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ในรูปแบบเงินประกัน (Funeral Insurance) คือ อะไร

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ เป็นการวางแผนทางการเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของคุณในอนาคต เมื่อคุณจากไปแล้ว ครอบครัวของคุณก็จะได้รับเงินก้อนหนึ่งเพื่อเป็นไว้เป็นค่าใช้จ่าย

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ในรูปแบบเงินประกัน ดีกว่าการฝากธนาคาร อย่างไร

การสำรองค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ในรูปแบบเงินประกันจะเกิดความคุ้มครองตามวงเงินที่คุณเตรียมไว้ทันทีเมื่อคุณทำสัญญา ในขณะที่การฝากเงินในธนาคาร ครอบครัวของคุณจะใช้จ่ายได้ตามจำนวนเงินที่มีอยู่จริงในบัญชีเท่านั้น

ฌาปกิจ, งานฌาปนกิจ, หรือ พิธีฌาปนกิจ คือ อะไร

ฌาปนกิจ ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า cremation ซึ่งหมายถึง การเผาศพ

 

ในพิธีฌาปนกิจทางศาสนาพุทธ อาจจะมีกำหนดการฌาปนกิจที่แตกต่างไปตามความเหมาะสม เช่น การถวายเพล การถวายผ้าไตร/ผ้าบังสุกุล การแสดงธรรมเทศนา การอ่านประวัติผู้วายชนม์ ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ เป็นต้น

พิธีฌาปนกิจ เป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่ล่วงลับ ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพ เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดยการเวียนศพต้องเวียนซ้าย ต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ 3 รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลก นรก และสวรรค์ ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จึงทำการทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อยๆ เดินตามขึ้นเมรุเผา จากนั้นนำดอกไม้จันทน์วางที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง เพราะหากเดินย้อนกลับไปทางที่ขึ้นมาจะทำให้ขวางทางเดินผู้อื่นได้ 

เมื่อพิธีเผาศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช้าวันรุ่งขึ้นสามารถมาเก็บอัฐิได้แต่ถ้าเป็นชนบทจะเก็บอัฐิภายหลังการเผาแล้ว 3 วัน เนื่องจากชนบทจะใช้ฟืนเผาจึงจะต้องรอให้ไฟมอดสนิทก่อน ลูกหลานจะเก็บส่วนที่สำคัญไว้บูชา และบางส่วนอาจจะนำไปลอยอังคาร ซึ่งอาจจะเป็นแม่น้ำ หรือทะเล ทั้งนี้มีความเชื่อที่ว่าจะทำให้วิญญาณของผู้ตายมีความสงบและร่มเย็น

พิธีงานฌาปนกิจ งานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงผู้ตายและยังเป็นพิธีกรรมที่ทำให้ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้มีโอกาสระลึกถึงผู้ตายและพิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่ง ทำให้มีความตั้งใจในการทำความดีและทำบุญกุศลกันมากขึ้นต่อไป

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก wiki

สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ คือ อะไร

สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ คือ กลุ่มที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบอันเกิดจาก การเสียชีวิตของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน เมื่อมี “การตาย” เกิดขึ้น ซึ่งการตายนั้นได้นำมาซึ่งการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ยิ่งหากคนตายเป็นเสาหลักของครอบครัว จะมีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวอย่างมาก การเป็นสมาชิกในฌาปนกิจสงเคราะห์ จะเป็นการออมเงินเพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้

ประโยชน์ของการฌาปนกิจสงเคราะห์นั้น สมาชิกจะได้รับการช่วยเหลือโดยมีเงินจัดการศพให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต และเมื่อมีเงินเหลือจากการจัดการศพ ทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัว มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ เป็นทุนการศึกษาบุตร และเป็นรากฐานให้ครอบครัวยังคงความมั่นคงต่อไป ดังนั้น การฌาปนกิจสงเคราะห์จึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของชีวิต เป็นหลักประกันความมั่นคงให้ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวของผู้มีรายได้ไม่มาก จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างมาก และยังถือเป็นการทำบุญร่วมกันอีกด้วย 

ฌาปกิจสงเคราะห์ คือ อะไร

การฌาปนกิจสงเคราะห์ คือ กิจการที่บุคคลหลายคน ตกลงเข้าร่วมกันเพื่อสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ในการจัดการศพ และสงเคราะห์ครอบครัวผู้เสียชีวิต
ที่เป็นสมาชิก และมิได้ประสงค์จะหากำไรหรือรายได้เพื่อแบ่งปันกัน การฌาปนกิจสงเคราะห์มีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแลมิให้เกิดการทุจริตฉ้อโกงภายใต้ “พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. 2545” 

 

การดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์มีหน้าที่เป็นคนกลางในการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากสมาชิกทุกคนเมื่อมีสมาชิกเสียชีวิต และนำเงิน
ไปมอบให้กับผู้รับเงินสงเคราะห์ของสมาชิกผู้เสียชีวิต

ในปัจจุบันการฌาปนกิจสงเคราะห์  มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ

  • การฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยภาคเอกชน และการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรวิชาชีพ ซึ่งเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ตัวอย่างการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยภาคเอกชน เช่น การให้บริการขององค์กรการเงินชุมชนในรูปแบบสวัสดิการชุมชนที่มีชื่อเรียกว่า “สวัสดิการเสียชีวิต” เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในชุมชน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนที่ได้รับจากผลกระทบของการเสียชีวิตของสมาชิก

  • ส่วนการฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งโดยส่วนราชการ หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรวิชาชีพ เช่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ อย่างธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีการให้บริการฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นบริการที่ ธ.ก.ส. มอบให้กับผู้ใช้บริการทั้งที่เป็นผู้กู้ และผู้ฝากเงินเป็นกรณีพิเศษ โดยเงินสงเคราะห์ที่เรียกเก็บ แต่ละเดือนขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่เสียชีวิตในเดือนดังกล่าว แต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และอาจมีการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ไว้ล่วงหน้าประมาณ 1 ปี เพื่อสำรองจ่ายเป็นค่าจัดการศพแต่ต้องไม่เกินอัตราที่ประชุมใหญ่กำหนดและต้องกำหนดในข้อบังคับด้วย

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก สพช

หากไม่ได้เป็นสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ และต้องการออมเงินไว้เพื่อฌาปนกิจ จะทำอย่างไร

หากมีความต้องการที่จะวางแผนงานศพล่วงหน้า และสำรองเงินไว้เป็นค่าใช้จ่าย และไม่ได้ทำงานอยู่ในหน่วยงานที่มีฌาปนกิจสงเคราะห์ สามารถเลือกที่จะออมเงินไว้ในรูปแบบ เงินประกันชีวิต หรือ เงินสำหรับทำศพ โดยติดต่อตัวแทนผู้ให้บริการ หรือ ปรึกษา Funeral Plans ได้

bottom of page