จะต้องทำอย่างไรเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น โดย กระทรวงสาธารณสุข
หมายเหตุ การสะกดคำที่ถูกเขียนว่าใบมรณบัตร ไม่ใช่ใบมรณะบัตร แต่ในบทความจะเขียนแบบมีสระอะ เพื่อการแสดงผลการค้นหา
การแจ้งตาย มี 2 กรณีใหญ่ๆ ได้แก่
กรณีตายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ให้แก่ญาติ เพื่อให้ญาตินำไปรวมกับเอกสารอื่น ๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) สำหรับนำไปยื่นให้กับนายทะเบียน ณ ที่ทำการปกครองอำเภอหรือเขต ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากตาย เพื่อออกใบมรณบัตร
กรณีตายนอกโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
บ้านผู้ตายอยู่ในเขตที่ทำการปกครองอำเภอ ให้ผู้แจ้งตาย แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) มาให้ ผู้แจ้งตายจะต้องนำเอกสารดังกล่าว พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) ไปยื่นแก่นายทะเบียน เพื่อให้นายทะเบียนออกใบมรณบัตรให้
บ้านผู้ตายอยู่ในเขต หรือเทศบาล ให้ไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล เพื่อออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ให้ญาตินำไปแจ้งขอออกใบมรณบัตรจากสำนักทะเบียนอำเภอท้องถิ่น
กรณีตายในบ้าน เช่น บ้านของผู้ตาย บ้านของญาติพี่น้อง บ้านของเพื่อน ในโรงงานหรือสถานประกอบการต่าง ๆ ผู้แจ้งตายซึ่งอาจเป็นเจ้าบ้านที่มีคนตาย ผู้พบศพ หรือ บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งการตาย จะต้องแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ตาย หรือพบศพ
กรณีตายนอกบ้าน เช่น ตายที่ศาลาพักผู้โดยสาร บนรถยนต์ ทุ่งนาป่าเขา เป็นต้น ผู้แจ้งตายซึ่งเป็นผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพ แต่ถ้าหากพื้นที่ใดมีการเดินทางที่ยากลำบาก และมีระยะทางยาวไกล ทางการจะยืดหยุ่นระยะเวลาการแจ้งตายเอาไว้ว่าสามารถแจ้งตายได้ภายใน 7 วัน หากแจ้งเกินกว่านี้จะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนวิธีการแจ้งตายและหลักฐานการแจ้งตายจะใช้แบบเดียวกันกับกรณีตายในบ้าน
สำหรับกรณีการตายผิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน เช่น ถูกฆ่าตาย ตกจากที่สูง อุบัติเหตุ งูกัด เป็นต้น จะต้องมีหลักฐานการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนยื่นต่อนายทะเบียน เมื่อยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะทำการจำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า “ตาย” เป็นสีแดงไว้หน้ารายการคนตายของทะเบียนบ้าน ก่อนที่จะออกใบมรณบัตรให้ จากนั้นนายทะเบียนจะคืนใบมรณบัตร เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนคืนให้แก่ผู้แจ้งตาย เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการแจ้งตาย Cr: กระทรวงสาธารณสุข
การแจ้งตาย และการขอใบมรณะบัตร
การแจ้งตาย มี 2 กรณีใหญ่ ๆ จำง่าย ๆ คือ
กรณีตายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ กรณีนี้ หลังจากที่ผู้ป่วยตาย แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ให้แก่ญาติ เพื่อให้ญาตินำไปรวมกับเอกสารอื่น ๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) สำหรับนำไปยื่นให้กับนายทะเบียน ณ ที่ทำการปกครองอำเภอหรือท้องถิ่น ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากตาย เพื่อออกใบมรณบัตร
กรณีตายนอกสถานพยาบาล แบ่งออกเป็น 2 กรณีย่อย คือ
กรณีตายในบ้าน เช่น บ้านของผู้ตาย บ้านของญาติพี่น้อง บ้านของเพื่อน ในโรงงานหรือสถานประกอบการต่าง ๆ ผู้แจ้งตายซึ่งอาจเป็นเจ้าบ้านที่มีคนตาย ผู้พบศพ หรือ บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้แจ้งการตาย จะต้องแจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่ตาย หรือพบศพ
ถ้าบ้านผู้ตายอยู่ในเขตท้องที่ที่ทำการปกครองอำเภอ ให้ผู้แจ้งตาย แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านจะออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) มาให้ ผู้แจ้งตายจะต้องนำเอกสารดังกล่าว พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) ไปยื่นแก่นายทะเบียน เพื่อให้นายทะเบียนออกใบมรณบัตรให้
ถ้าบ้านผู้ตายอยู่ในเขตท้องที่หรือเทศบาล ให้ไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาล เพื่อออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ให้ญาตินำไปแจ้งขอออกใบมรณบัตรจากสำนักทะเบียนอำเภอท้องถิ่น
กรณีตายนอกบ้าน เช่น ตายที่ศาลาพักผู้โดยสาร บนรถยนต์ ทุ่งนาป่าเขา เป็นต้น ผู้แจ้งตายซึ่งเป็นผู้พบศพ จะต้องรีบแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบศพ แต่ถ้าหากพื้นที่ใดมีการเดินทางที่ยากลำบาก และมีระยะทางยาวไกล ทางการจะยืดหยุ่นระยะเวลาการแจ้งตายเอาไว้ว่าสามารถแจ้งตายได้ภายใน 7 วัน หากแจ้งเกินกว่านี้จะต้องถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนวิธีการแจ้งตายและหลักฐานการแจ้งตายจะใช้แบบเดียวกันกับกรณีตายในบ้าน
สำหรับกรณีการตายผิดธรรมชาติ ไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน เช่น ถูกฆ่าตาย ตกจากที่สูง อุบัติเหตุ งูกัด เป็นต้น จะต้องมีหลักฐานการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนยื่นต่อนายทะเบียน
เมื่อยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะทำการจำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า “ตาย” เป็นสีแดงไว้หน้ารายการคนตายของทะเบียนบ้าน ก่อนที่จะออกใบมรณบัตรให้ จากนั้นนายทะเบียนจะคืนใบมรณบัตร เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนคืนให้แก่ผู้แจ้งตาย เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการแจ้งตาย…
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการแจ้งตายอย่างชัดเจนมากขึ้น เรามีประสบการณ์การแจ้งตายของ“พี่อ้อ” ธนัญญา สระบัวบาน พี่อ้อเป็นแม่บ้านประจำสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ที่จะมาแบ่งปันเรื่องราวเล่าสู่กันฟังค่ะ
พี่อ้อ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การแจ้งตายถึง 3 กรณีที่แตกต่างกันออกไป…
การแจ้งตายรายแรก เป็นการแจ้งตาย “พี่สาว” ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งในช่องท้อง ตายในโรงพยาบาล พี่อ้อเล่าว่าหลังจากพี่สาวตาย แพทย์จะยังไม่ดำเนินการใด ๆ จนกว่าจะครบ 2 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจก่อนว่าผู้ตายได้เสียชีวิตอย่างแน่นอนแล้ว จากนั้นโรงพยาบาลจึงจะดำเนินการออกหนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ก่อนที่พี่อ้อจะดำเนินการเรื่องเคลื่อนศพกลับสู่บ้านเกิดที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อพี่อ้อนำศพพี่สาวมาถึงที่วัดเรียบร้อยแล้ว พี่อ้อจึงได้ดำเนินการแจ้งตาย ณ ที่ทำการปกครองอำเภอเสนา โดยนำหลักฐานซึ่งประกอบไปด้วย หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ที่ได้จากโรงพยาบาล พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย ไปยื่นต่อนายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนจะทำการจำหน่ายชื่อของผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยประทับคำว่า “ตาย” เป็นสีแดงไว้หน้ารายการคนตายในทะเบียนบ้าน ก่อนที่จะคืนหลักฐานต่าง ๆ ให้กับพี่อ้อ
การแจ้งตายรายที่ 2 เป็นการแจ้งตาย “คุณย่า” ซึ่งตายด้วยอาการชราภาพที่บ้าน กรณีนี้พี่อ้อเล่าว่า คุณย่าไม่เคยเจ็บป่วยจนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะสุขภาพแข็งแรงดี จะมีเพียงแค่อาการหลง ๆ ลืม ๆ ตามประสาผู้สูงอายุ
คุณย่าได้หมดลมหายใจในวันทำบุญต่อชะตาก่อนวันเกิดเพียง 1 วัน หลังจากนั้นพี่อ้อจึงได้ไปแจ้งตายกับผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ให้ ก่อนที่จะนำใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) พร้อมหลักฐานเอกสารอื่นๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย ไปยื่นต่อนายทะเบียน เพื่อให้นายทะเบียน ณ ที่ทำการปกครองอำเภอออกใบมรณบัตรให้
การแจ้งตายรายที่ 3 เป็นการแจ้งตาย “คุณน้า” ซึ่งป่วยด้วยโรงมะเร็งตับระยะสุดท้าย หมดหนทางรักษา แพทย์จึงให้กลับมาพักที่บ้าน เมื่อคุณน้าตายพี่อ้อก็ได้กลับไปที่โรงพยาบาลอีกครั้งเพื่อให้แพทย์ออกหนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) และ ก่อนที่จะนำหนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย ไปยื่นกับนายทะเบียน ณ ที่ทำการอำเภอเช่นเดิม
ภาพรวมความแตกต่างของ 3 กรณีนี้คือ พี่สาวของพี่อ้อตายที่โรงพยาบาล ส่วนคุณน้าก็ผ่านการรักษาอาการเจ็บป่วยหนักจากโรงพยาบาลก่อนที่จะกลับมาตายที่บ้าน ดังนั้นพี่อ้อ ซึ่งเป็นผู้แจ้งตายจึงต้องไปขอเอกสารซึ่งประกอบด้วย หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) จากทางโรพยาบาล ก่อนที่จะนำหนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนผู้ตาย และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย ไปยื่นกับนายทะเบียน ณ ที่ทำอำเภอ ส่วนกรณีของคุณย่าซึ่งเป็นการตายด้วยอาการชราภาพที่บ้าน ไม่ได้มีการเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลมาก่อน พี่อ้อจึงไม่ต้องไปติดต่อขอเอกสารที่โรงพยาบาล แต่ต้องไปแจ้งตายที่ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้านออกใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) ให้ ก่อนที่จะนำใบรับแจ้งการตายพร้อมหลักฐานเอกสารอื่นๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย ไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ ที่ทำอำเภอเพื่อให้นายทะเบียนออกใบมรณบัตรให้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณรัตนศิริ ศิระพานิชกุล, Burden of Disease Research Program Thailand
การแจ้งเหตุการณ์การเสียชีวิต
บุคคลที่จะแจ้งการตายได้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ได้แก่ คนสัญชาติ ไทย และคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทย (มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่หรือใบส าคัญประจ าตัวคนต่างด้าว) หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ใน ประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว (มีหนังสือเดินทางหรือวีซ่า) หรือเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้ อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ (ชนกลุ่มน้อย) หรือเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาต
ผู้มีหน้าที่แจ้งการตาย ได้แก่
เจ้าบ้านที่มีคนตาย กรณีตายในบ้าน (รวมถึงสถานพยาบาล) หากไม่มีเจ้า บ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้ง
บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพ กรณีตายนอกบ้าน
เจ้าบ้านของบ้านที่มีการตาย บุคคลที่ไปกับผู้ตายขณะตาย ผู้พบศพหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว กรณีแจ้งการตาย ณ ท้องที่ที่ศพอยู่หรือ ท้องที่ที่มีการจัดการศพ
ระยะเวลาการแจ้งตาย
คนตายในบ้าน ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แล้วแต่กรณี
คนตายนอกบ้าน ต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ เว้นแต่กรณีท้องที่ที่การคมนาคมไม่สะดวกหรือมีเหตุจำเป็น ผู้อำนวยการทะเบียนกลางสามารถ ขยายเวลาการแจ้งตายได้ แต่ต้อง ไม่เกิน 7 วันนับแต่เวลาตายหรือพบศพ
เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับการขอใบมรณะบัตร
ผู้แจ้งแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ได้แก่
บัตรประจำตัวผู้แจ้ง
บัตรประจำตัวของคนตาย (ถ้ามี)
หนังสือรับรองการตายตามแบบ ท.ร.4/1 (กรณีคนตายในสถานพยาบาล)
ใบรับแจ้งการตายตามแบบ ท.ร.4 ตอนหน้า (กรณีแจ้งต่อกำนันผู้ใหญ่บ้าน)
รายงานการชันสูตรของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยงานนิติเวช
สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี)
Comments