เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญกุศล และฌาปนกิจที่วัดธาตุทองค่าใช้จ่ายและขั้นตอนในการจัดงานศพอย่างไร
top of page
ค้นหา

เป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญกุศล และฌาปนกิจที่วัดธาตุทองค่าใช้จ่ายและขั้นตอนในการจัดงานศพอย่างไร

อัปเดตเมื่อ 10 ต.ค. 2565

ก่อนอื่นต้องขอร่วมแสดงความเสียใจ หากท่านผู้อ่านกำลังอยู่ในช่วงที่รู้สึกทุกข์ใจและเกิดความสูญเสียขึ้นกับครอบครัวอันเป็นที่รัก ในวันนี้เราขอแบ่งปันข้อมูล และขั้นตอนต่างๆตั้งแต่เมื่อมีผู้เสียชีวิตว่าควรทำอย่างไรบ้าง


โดยส่วนมากแล้วทางเจ้าภาพหรือครอบครัวของผู้เสียชีวิต จะติดต่อมาที่เราตั้งแต่ญาติยังอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ก็มีหลายครั้งที่ติดต่อเข้ามาอย่างกระทันหันเพราะญาติเสียชีวิตที่บ้านก็มี อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์เราพบว่า การเตรียมตัวก่อนล่วงหน้าจะช่วยทำให้วางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายได้มากกว่า รวมถึงการจัดงานก็จะเกิดขึ้นอย่างมีคุณค่า นอกจากนี้หลายครอบครัวมักจะเกิดข้อโต้แยงระหว่างคนในครอบครัวหรือญาติๆ เพราะต่างฝ่ายก็มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน ตั้งแต่จำนวนวันในการจัดงานศพ สถานที่ที่จะจัดงาน ชนิดของหีบศพ หรือ ดอกไม้ประดับหีบ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพเล็กๆน้อยๆ ตั้งแต่ของชำร่วย และชนิดของอาหารที่ใช้รับรองแขกผู้มาร่วมงาน และยังมีเรื่องอื่นๆอีกซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเช่นนี้


ไม่ว่าท่านกำลังสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทำให้มีสภาพจิตใจ และอารมณ์ไม่พร้อมที่จะทำสิ่งต่างๆ และอยู่ในสถานการณ์รีบด่วน กระทันหัน จึงไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร หรือ ต้องการควบคุมค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้ และหากท่านไม่สะดวกในการจัดงานศพด้วยตัวเอง ต้องการให้เราช่วยจัดงานศพ สามารถสอบติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน (Funeral Plan) เพื่อคอยช่วยเหลือครอบครัวของท่านในเวลาที่ยากลำบากนี้ได้ครับ สามารถสอบถามแพคเกจงานศพ ได้ที่

Line @funeralservice โทร 06-4289-6394


ตัวอย่าง กำหนดการสวดพระอภิธรรม และฌาปนกิจ

คุณพ่อ.... / คุณแม่ .....

ณ ศาลา .... วัดธาตุทอง พระอารามหลวง

1325 ถนนสุขุมวิท แขวง พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110


วัน.......ที่..... เดือน.................... พ.ศ.256....

เวลา 16:00 น. พิธีรดน้ำศพ

เวลา 18:30 น. สวดพระอภิธรรม

วัน.......ที่..... เดือน.................... พ.ศ.256....

เวลา 18:30 น. สวดพระอภิธรรม


วัน.......ที่..... เดือน.................... พ.ศ.256....

เวลา 18:30 น. สวดพระอภิธรรม


วัน.......ที่..... เดือน.................... พ.ศ.256....

เวลา 7:30 น. ถวายภัตตาหารเช้า

เวลา 8.30 น. พระสงฆ์สวดมาติกา บังสุกุล

เวลา 9:00 น. พระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา

เวลา 12:00 น. เคลื่อนย้ายร่างผู้วายชนม์สู่พระเมรุ

เวลา 12.45 น. พิธีทอดผ้าบังสุกุล

เวลา 13.00 น. พิธีฌาปนกิจ


ค่าใช้จ่ายต่างๆในการจัดงานศพ (เจ้าภาพสวดพระอภิธรรม)

  • การถวายเงินปัจจัยพระสงฆ์ระหว่างงานพิธี ได้แก่ ถวายปัจจัยพระสงฆ์ ในวันสวดพระอภิธรรม, ถวายปัจจัยพระสงฆ์ในช่วงถวายภัตตาหาร, ถวายปัจจัยในช่วงแสดงธรรมเทศนา และถวายปัจจัยในส่วนของการถวายผ้าไตรจีวร/ผ้าบังสุกุล

  • ค่าใช้จ่ายของทางวัดสำหรับเจ้าหน้าที่ในส่วนต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ประจำศาลา / เจ้าหน้าที่ในการเคลื่อนย้าย / เจ้าหน้าที่ในการเวียนรอบเมรุ / เจ้าหน้าที่ในการนำสวดพระอภิธรรม / พิธีกรงานฌาปนกิจ

  • ค่าเครื่องไทยธรรมในแต่ละคืนที่มีการสวดพระอภิธรรม

  • ค่าผ้าไตรจีวร/ผ้าบังสุกุล

  • ค่าบำรุงศาลาตามแต่ศรัทธา ทางวัดจะมีชำระค่าไฟฟ้า

  • ค่าฌาปนกิจ

  • ดอกไม้ประดับหีบ และ ดอกไม้ประดับเมรุ (ถ้ามี)

  • ค่าอาหารและเครื่องดื่มประจำศาลา สำหรับรับรองแขก

  • ค่าถวายภัตตาหารพระสงฆ์, ค่าใช้จ่ายในช่วงพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา

  • เบ็ดเตล็ด เช่น ค่าดอกไม้ พวงมาลัย เบญจรงค์ โกศ ลุ้ง ฯลฯ


สิ่งที่ต้องทำเมื่อมีคนเสียชีวิต และขั้นตอนในการจัดงานศพที่วัดะธาตุทอง


1. ให้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รพ. หรือ สำนักงานเขตเพื่อทำการออกใบมรณบัตร

- เอกสารที่ต้องใช้หากจะขอใบรับรองการจัดงานฌาปนกกิจศพจากทางวัดธาตุทอง ได้แก่ ใบมรณะบัตรตัวจริง, บัตรประชาชนตัวจริง (กรณีมีลูกหลายคน ต้องให้ลูกทุกคนถ่ายสำเนาบัตรประชาชน พร้อมเวนต์ยินยอมให้ลูกคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ขอทำเอกสาร) และทางวัดจะออกเอกสารตัวจริงให้เพียงฉบับเดียว

การแจ้งตาย

การแจ้งตายเพื่อขอใบมรณบัตร ต้องแล้วแต่สถานที่ หากผู้ป่วยเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ออกใบรับรองแพทย์เพื่อเป็นหลักฐาน และระบุสาเหตุของการเสียชีวิตเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ใบมรณบัตร จากนั้นเมื่อญาติได้ใบรับรองแพทย์แล้ว ก็ให้นำใบรับรองแพทย์พร้อมบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิตไปที่สำนักงานเขตในเขตที่โรงพยาบาลนั้นตั้งอยู่ (แผนกทะเบียนราษฎร์) เพื่อขอรับใบมรณบัตร

ทั้งนี้ในปัจจุบัน โรงพยาบาลส่วนใหญ่สามารถช่วยดำเนินการออกใบมรณบัตร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ญาติ ซึ่งญาติจะต้องนำทะเบียนบ้านมาให้กับทางโรงพยาบาลด้วย


2. เตรียมเสื้อผ้าสำหรับผู้เสียชีวิต ทำการอาบน้ำ/แต่งหน้าศพ และเปลี่ยนชุดมาให้เรียบร้อยจากที่โรงพยาบาล ไม่ควรมาทำการเปลี่ยนชุดที่วัด


3. เตรียมรูปภาพสำหรับใช้ตั้งหน้าศพ และเตรียมผ้าแพร (หากทำพิธีรดน้ำศพ)


4. ตกลงกับญาติและครอบครัว ถึงความต้องการ เช่น - จำนวนวันที่จะตั้งศพ สวดพระอภิธรรม/บำเพ็ญกุศล หรือ กงเต๊ก - ฌาปนกิจ หรือ ฝัง

- งบประมาณ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ตั้งใจไว้


5. ติดต่อวัดธาตุทองที่ 023919616, 023918103

ทางพระครูที่วัดธาตุทองจะสอบถาม และให้กรอกเอกสารของทางวัด ระบุชื่อผู้เสียชีวิต, ชื่อเจ้าภาพ, วันที่จะนำศพเข้ามาที่วัด, วันที่จะฌาปนกิจ (โดยปกติแล้วต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่เสียชีวิต เช่น สวดพระอภิธรรมแบบพุทธ 3 วัน, วันที่ 4 ทำพิธีกงเต๊ก, วันที่ 5 ฌาปนกิจ และวันที่ 6 เก็บอัฐิ) และรายละเอียดอื่นๆ เช่น การเลือกชุดไทยธรรม, การแจ้งความต้องการที่จะใช้พนักงานเสริฟน้ำ/อาหาร เป็นต้น

การนำศพมาวัดธาตุทอง

6. เมื่อเจ้าภาพได้รับใบมรณบัตรมาแล้ว ให้นำสำเนาใบมรณบัตรมาแสดงที่วัด

โดยปกติการเคลื่อนย้ายจะนัดกันที่โรงพยาบาลประมาณ 14.00 น. เพื่อให้เดินทางไปถึงที่วัดประมาณ 15.00 น.


7. เมื่อนำร่างมาถึงศาลาแล้ว จะทำการเตรียมสถานที่เพื่อทำพิธีรดน้ำศพ

พิธีรดน้ำศพ

การชำระร่างกายให้สะอาดและแต่งตัวให้กับผู้เสียชีวิต เป็นหน้าที่ของบุตร-ธิดา และจะต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่จะถึงเวลารดน้ำศพ (ควรทำให้เรียบร้อยตั้งแต่ที่โรงพยาบาล) ซึ่งจะเริ่มประมาณ 16.00 - 17.30 น. เมื่อเจ้าภาพเตรียมน้ำอบสำหรับรดน้ำศพ (อาบน้ำศพ)ไว้เรียบร้อยแล้ว พอถึงเวลา เจ้าภาพจะเชิญแขกผู้มีความประสงค์จะรดน้ำไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยเจ้าภาพ หรือทายาทจะเป็นผู้คอยส่งน้ำอบให้กับแขกที่มาร่วมพิธี เวลาในการรดน้ำศพ ในความเป็นจริงไม่จำเป็นจะต้องรอให้ถึงเวลาที่กำหนดไว้ หากแขกท่านใดมาถึงก่อนก็สามารถเชิญมารดน้ำได้ทันที


8. การตั้งศพบำเพ็ญกุศล และการสวดพระอภิธรรม

การสวดพระอภิธรรม

ตามคตินิยม และประเพณีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมา นิยมสวดพระอภิธรรมจำนวน 1 คืน 3 คืน 5 คืน 7 คืน จะไม่นิยมสวดเป็นเลขคู่ แต่ในปัจจุบันก็ไม่ได้เคร่งครัดนักแล้วแต่เจ้าภาพจะสะดวก ตามภาวะเศรษฐกิจ และความเหมาะสมที่จะจัดได้


ในการสวดพระอภิธรรมจะต้องนิมนต์พระมาให้ครบองค์สงฆ์ (จำนวนพระสงฆ์ขั้นต่ำที่สุด คือ 4 รูป) จึงเป็นธรรมเนียมว่าในการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระอภิธรรมจึงต้องนิมนต์พระสงฆ์มา 4 รูป ส่วนงานพิธีการทำบุญต่างๆไม่นิยมนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป (ความจริงแล้วจะนิมนต์พระกี่รูปก็ได้ ไม่มีข้อห้าม) เพียงแต่เลี่ยงไม่ให้เหมือนกับการสวดพระอภิธรรมศพ


สวดอภิธรรมเริ่มกี่โมง

กำหนดสวดพระอภิธรรม ปัจจุบันสวดเพียง 4 จบ ระหว่าง 19.00 น. - 20.00 น. โดยเมื่อสวดพระอภิธรรมจบแล้ว เจ้าภาพก็จะถวายเครื่องไทยธรรม โดยเจ้าหน้าที่จะลาดผ้าสายโยง บนผ้าสายโยงนั้นนอกจ้ากผ้าแล้ว อย่าได้วางสิ่งของอื่นๆ เพราะถือว่าผ้าสายโยงนั้นต่อเนื่องจากศีรษะของผู้เสียชีวิต ดังนั้นไม่ควรวางสิ่งหนึ่งสิ่งใด และต้องไม่นำเอาสิ่งของข้ามผ้าสายโยงเป็นอันขาด และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำพิธีลาดผ้าสายโยงแล้ว ผู้ที่เป็นประธานให้เตรียมผ้าที่จัดไว้ วางลงบนผ้าสายโยงนั้น และพระท่านก็จะสวดบังสุกุล และสวดอนุโมทนา


การกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ ควรตั้งใจให้สงบ ตั้งมั่นในบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญ แล้วค่อยๆเทนั้ำลงในภาชนะที่รองรับ ไม่ควรใช้นิ้วมือหรือสิ่งอื่นๆรอรับน้ำ ให้เทน้ำลงให้ไหลไปเรื่อยๆโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง


9. หากยังไม่พร้อมที่จะฌาปนกิจ

การเก็บศพ

หากเจ้าภาพได้นำศพมาที่วัดเพื่อสวดพระอภิธรรม และบำเพ็ญกุศลตามประเพณีแล้ว แต่ยังไม่พร้อมที่จะฌาปนกิจ เจ้าภาพสามารถเก็บศพไว้ก่อนได้ โดยให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่วัดทราบถึงวัตถุประสงค์ จากนั้นทางวัดจะจัดเตรียมสถานที่ให้ถูกต้อง โดยเจ้าภาพจะต้องแจ้งให้ทางวัดทราบว่าต้องการเก็บศพไว้นานเท่าใด เช่น 50 วัน, 100 วัน, 1 ปี เป็นต้น เพื่อที่ทางวัดจะได้เตรียมสถานที่ได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาในการเคลื่อนย้ายภายหลัง


เจ้าภาพควรติดต่อกับทางวัดเกี่ยวกับวันแวลาที่จะทำการฌาปนกิจให้เรียบร้อยก่อน จะได้วันเวลาที่ต้องการ เมื่อเจ้าภาพจองวันฌาปนกิจเรียบร้อยแล้ว ก่อนวันงาน 2 สัปดาห์ ควรติดต่อกับทางวัดอีกครั้งเพื่อเตรียมความเรียบร้อย โดยให้เจ้าภาพเตรียมสิ่งต่างๆเหล่านี้ในวันเก็บศพ

- ป้ายชื่อสำหรับจะติดที่บรรจุศพ 1 ป้าย

- กระถางธูปตั้งหน้าศพ 1 ใบ

- แจกันดอกไม้ตั้งหน้าศพ 1 คู่

- ดอกไม้และดินสำหรับบรรจุศพ

การเก็บศพโดยทั่วไป จะเก็บหลังจากพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว คือเวลา 20.00 น. โดยประมาณ แต่หากเจ้าภาพไม่สะดวกในการเก็บคืนนั้น ก็สามารถเก็บในวันรุ่งขึ้นได้


การเก็บศพเพื่อให้สะดวกกับแขกที่มาในงาน หากเป็นไปได้จะทำพิธีบรรจุศพที่ศาลาสวดพระอภิธรรมเลย เพราะการที่จะเดินไปยังสถานที่เก็บอาจจะไม่สะดวกเท่าที่ควร เนื่องจากแขกบางท่านอายุมาก โดยเจ้าภาพสามารถเชิญแขกมาวางดอกไม้ ดินที่บรรจุ มาวางไว้ในพานที่เตรียมไว้ เมื่อพิธีเสร็จแล้วเจ้าภาพและญาติ จึงเชิญศพลงจากศาลาสู่สถานที่เก็บศพเพื่อเป็นการบรรจุศพ เช่นนี้ จะเป็นการสะดวกกับแขกที่มาในงานมาก


10. การบำเพ็ญกุศลเลี้ยงพระก่อนฌาปนกิจ


ตามประเพณีไทยโดยทั่วไป ก่อนถึงวันฌาปนกิจ จะมีการบำเพ็ญกุศลทำบุญเลี้ยงพระเนื่องในวันที่ได้ถึงแก่กรรมครบ 7 วัน, 50 วัน, 100 วัน ต่อจากนั้นจึงได้ทำการฌาปนกิจ ซึ่งปัจจุบันนี้การตั้งศพบำเพ็ญกุศล สวดพระอภิธรรมและฌาปนกิจนั้น ส่วนมากจะจัดเพียง 3, 5, 7 วัน เนื่องจากสะดวก ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น สวดพระอภิธรรม 3 คืน แล้วทำการฌาปนกิจในคืนนั้นเลย


การสวดพระอภิธรรม 3 คืน และฌาปนกิจในคืนนั้นเลยสามารถทำได้ และเป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นกับการพิจารณาตามสมควรและความเหมาะสมของเจ้าภาพ

การบำเพ็ญกุศลในคืนวันที่ 3 ตามกำหนดการเช่น

เวลา 10.30 น. พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์

เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหาร

เวลา 12.00 น. พระสงฆ์สวดมาติกา - บังสุกุล

เวลา 18.30 น. แสดงพระธรรมเทศนา

เวลา 19.00 น. พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม

เวลา 20.00 น. ฌาปนกิจ


11. การเชิญศพขึ้นตั้งบนจิตกาธาน


การเชิญศพขึ้นตั้งบนจิตกาธาน หรือ เวียนรอบเมรุ 3 รอบนั้น จะเริ่มหลังจากพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา และพระสงฆ์สวดมาติกา-บังสุกุล หรือ สดับปกรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่พิธีจะเชิญศพจากศาลาขึ้นสู่จิตกาธาน โดยมีพระสงฆ์เดินนำหน้า 1 รูป เจ้าภาพหรือญาติถือรูปเดินตามพระสงฆ์ในระยะห่างพอสมควร เวลาในการเวียนรอบเมรุ โดยทั่วไปจะเริ่มเวลาประมาณ 13.00 น. บางครั้งอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในกรณีที่มีการเผาศพเวลา 14.00 การเวียนต้องเลื่อนออกไปเป็นเวลา 15.00 หรือ อาจจะช้ากว่านั้น


กำหนดเวลาฌาปนกิจของวัดธาตุทอง

เวลาในการฌาปนกิจจะขึ้นกับความสะดวกของเจ้าภาพ แต่ในปัจจุบันถ้าสวดพระอภิธรรม 3 คืน, 7 คืน แล้วทำการฌาปนกิจ ส่วนมากก็จะฌาปนกิจเวลา 20.00 น. เพราะสะดวกกับแขกที่มาในงาน จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาในวันอื่นอีก

เวลา 14.00 น.

เวลา 16.00 น.

เวลา 17.00 น.

เวลา 19.00 น.

เวลา 20.00 น.


วันที่งดสวดพระอภิธรรม และ การฌาปนกิจ

งดสวดพระอภิธรรม : วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันจักรี

งดการฌาปนกิจ : วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสงกรานต์ (12-15 เมษายนของทุกปี) วันจักรี วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันศุกร์


12. การเก็บอัฐิ


โดยปกติแล้วจะเก็บอัฐิหลังจากการฌาปนกิจแล้ว 1 วัน คือวันรุ่งขึ้นตอนเช้าประมาณ 7.00 น. เป็นต้นไป และเจ้าภาพจะต้องตกลงกับเจ้าหน้าที่ว่าจะเก็บเวลาใด โดยจะต้องเตรียมสิ่งต่างๆมาได้แก่

- โกศสำหรับใส่อัฐิ

- ดอกมะลิ หรือ กลีบกุหลาบ

- น้ำอบไทยขวดเล็ก หรือ น้ำหอม

- เงินปลีก/เหรียญ พอประมาณ

ก่อนถึงเวลาเก็บอัฐิ เจ้าหน้าที่พิธีจะแปรอังคารและอัฐิไว้เป็นรูปคน คลุมด้วยผ้าขาว เมื่อเจ้าภาพและญาติมาพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพจุดเทียนที่เครื่องทองน้อยที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ แล้วว่างผ้าไตรลงบนผ้าขาวที่คลุมอัฐิ ต่อจากนั้นจึงอาราธนาพระสงฆ์ท่านสดัปกรณ์หรือบังสุกุล เมื่อพระสงฆ์บังสุกุลเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่จะเปิดผ้าคลุมออก เจ้าภาพและญาติจึงนำน้ำอบหรือน้ำหอมที่เตรียมไว้พรมบนอัฐิแล้วทำพิธีเก็บอัฐิ ส่วนที่เหลือเจ้าหน้าที่จะได้ประมวลรวมกับอังคาร บรรจุใส่ลุ้งต่อไป แล้วเจ้าภาพจึงเก็บอัฐิพร้อมทั้งลุ้งไปได้ตามความต้องการ


หากเจ้าภาพมีความต้องการจะถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่มาสดับปกรณ์ ซึ่งโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า สามหาบ ในการนี้เจ้าภาพมีจิตศรัทธาจะถวายด้วยก็ได้ โดยเชิญโกศอัฐิและอังคารไปยังสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ แล้วจึงถวายภัตตาหารสามหาบ พระสงฆ์ 3 รูป อนุโมนทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ เป็นอันเสร็จพิธี




ดู 4,244 ครั้ง1 ความคิดเห็น
bottom of page