ครอบครัวชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะจัดงานศพในวัด ดังนั้น พระสงฆ์และวัดจึงมีบทบาท และเป็นสถานที่สำคัญในการจัดงานศพ แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถพบเห็นบางครอบครัวตามชาญเมืองหรือต่างจังหวัดที่เลือกจัดให้มีการตั้งศพสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลที่บ้าน และค่อยเคลื่อนย้ายมาทำการฌาปนกิจที่เมรุของวัด
สำหรับบางคนนั้น การติดต่อวัด หรือการจองศาลา อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อน และมีความกังวล ไม่ทราบวิธีการจองศาลาเพื่อจัดงานศพ หรือขั้นตอนใดๆเลย ดังนั้นในบทความนี้จะแนะนำวิธีการจองศาลา เพื่อตั้งศพ สวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศล และการฌาปนกิจ
หมายเหตุ หากใช้บริการแพ็กเกจรับจัดงานศพของฟิวเนอรัล แพลน - ทางออแกไนซ์จะดำเนินการจองศาลา เตรียมหีบศพและเตรียมรถเคลื่อนย้ายแทนเจ้าภาพ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 0642896394 หรือ ขอรายละเอียดได้ที่ line id: @funeralplans > คลิ๊กอ่านรายละเอียด แพ็กเกจจัดงานศพ <
วิธีจองศาลา - ติดต่อวัดเพื่อจัดงานศพ
การติดต่อวัดอาจเป็นเรื่องที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่เคยทำมาก่อน ขั้นตอนในการจองศาลาบำเพ็ญกุศลมีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1: "การเลือกวัด" เป็นขั้นตอนแรกในการจัดงานศพ คือ การกำหนดสถานที่
ขั้นตอนที่ 2: "ข้อมูลในการจองศาลา" ในการจองศาลาจำเป็นต้องเตรียมข้อมูล ได้แก่
ข้อมูลของผู้เสียชีวิต เช่น ชื่อ-นามสกุล, สาเหตุการเสียชีวิต, วัน-เวลาที่เสียชีวิต, สำเนาใบมรณบัตร
ข้อมูลของผู้จองศาลา เช่น ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ข้อมูลในการจัดงานที่เกี่ยวกับสถานที่ เช่น จำนวนแขก, จำนวนวันสวดพระอภิธรรม, เวลาฌาปนกิจ, สถานที่รับศพ และเวลาที่นัดหมาย, หีบศพ
ข้อมูลในการจัดพิธีสงฆ์ เช่น การเตรียมเครื่องไทยธรรม และผ้าบังสุกุล, อาหารไหว้ผู้วายชนม์, ลำดับขั้นตอนพิธีสงฆ์ และองค์ประกอบต่างๆอีก เช่น พนักงานศาลานำสวด และพนักงานเสิร์ฟ เป็นต้น
เรื่องอื่นๆ เช่น มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพหรือไม่, มีพวงมาลา, พิธีพระราชทานเพลิงศพ, หีบพระราชทาน หรือแม้แต่การนำศพเก็บเข้าสุสานรอฌาปนกิจภายหลัง เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3: "สถานที่จริง" หากไม่เคยจัดงานและไม่เคยมาดูสถานที่ ก็ควรจะไปตรวจสอบก่อนเพื่อดูว่าเหมาะสม หรือตรงกับตามความต้องการของคุณหรือไม่ ถึงแม้ว่าหากจองไปแล้วและต้องการจะย้ายศาลาระหว่างที่มีการจัดงานศพอาจจะทำได้ แต่ก็ถือว่าไม่ค่อยเหมาะสม
ขั้นตอนที่ 4: "ยืนยันจองศาลา" หลังจากแน่ใจแล้ว สามารถสอบถามรายละเอียดต่างๆจากทางสำนักงาน หรือ พระสงฆ์ที่รับเรื่องจัดงานศพ ซึ่งแต่ละวัดจะบริหารงานต่างกัน โดยปกติทางวัดจะอนุญาตให้จองศาลาได้หลังจากเสียชีวิตแล้วเท่านั้น โดยต้องเข้าไปเขียนเอกสารประกอบการจัดงานศพตามแบบฟอร์มของแต่ละวัด
จองศาลาวัดธาตุทอง - ติดต่อวัดเพื่อจัดงานศพ
จองศาลาสวดพระอภิธรรม จัดงานศพ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง โทร 023919616
การจองศาลาเพื่อจัดงานศพที่วัดธาตุทอง - ท่านพระครูวินัยวรวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส (ข้อมูล ณ เมษายน พ.ศ.2566) จะเป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องศาลา ซึ่งญาติสามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ ว่าศาลาว่างหรือไม่ โดยเตรียมข้อมูลเบื้องต้นดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น เพื่อแจ้งกับท่านพระครูฯ และท่านจะเมตตาช่วยพิจารณาให้ตามความเหมาะสม เมื่อทราบว่าศาลาว่างและต้องการจองศาลาเพื่อจัดพิธีศพ ญาติจะต้องเข้ามาเขียนเอกสารของทางวัดเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
จองศาลาวัดพระศรีมหาธาตุ - ติดต่อวัดเพื่อจัดงานศพ
จองศาลาสวดพระอภิธรรม จัดงานศพ ฌาปนกสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โทร 025211571
การจองศาลาเพื่อจัดงานศพที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน โดยทั่วไปจะหมายถึงฝั่งที่กองทัพอากาศเป็นผู้ดำเนินงาน (การบริหารจัดการเรื่องศาลา-ฌาปนกิจ ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่กองทัพอากาศเป็นผู้บริหารดำเนินงาน และอีกส่วนจะเป็นส่วนของสำนักงานวัดฯเป็นผู้ดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ดี เมรุที่ใช้ในการฌาปนกิจ จะใช้ร่วมกัน)
ในการจองศาลา ญาติสามารถติดต่อสอบถามที่สำนักงาน ฌาปนสถานกองทัพอากาศ ก่อนได้ ว่าศาลาว่างหรือไม่ โดยเตรียมข้อมูลเบื้องต้นดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น เพื่อแจ้งกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน เมื่อทราบว่าศาลาว่างและต้องการจองศาลาเพื่อจัดพิธีศพ ญาติจะต้องเข้ามาเขียนเอกสารเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
จองศาลาวัดเทพศิรินทร์ - ติดต่อวัดเพื่อจัดงานศพ
จองศาลาสวดพระอภิธรรม จัดงานศพ วัดเทพศิรินทร์ โทร 022218877
การจองศาลาเพื่อจัดงานศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยทั่วไปจะหมายถึงฝั่งที่กองทัพอากาศเป็นผู้ดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีศาลาฝั่งที่ทางสำนักงานวัดเป็นผู้ดูแลโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้ เมรุที่ใช้ในการฌาปนกิจ จะใช้ร่วมกัน (แยกกันบริหารศาลาสวดพระอภิธรรม) ในการจองศาลา ญาติสามารถติดต่อสอบถามก่อนได้ ว่าศาลาว่างหรือไม่ โดยเตรียมข้อมูลเบื้องต้นดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น เพื่อแจ้งกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน เมื่อทราบว่าศาลาว่างและต้องการจองศาลาเพื่อจัดพิธีศพ ญาติจะต้องเข้ามาเขียนเอกสารเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
วัดที่นิยมจัดงานศพในกรุงเทพ
วัดโสมนัสราชวรวิหาร ที่ตั้ง เลขที่ 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร 0-2281-1061 , 0-2282-6889
วัดอาวุธวิกสิตาราม ที่ตั้ง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 72 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โทร 0-2435-1752
วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ที่ตั้ง ถนนวัชรพล แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โทร 0-2519-8383
วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (ฌาปนสถานทหารอากาศ) ที่ตั้ง 171 ถนน พหลโยธิน แขวง อนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 โทร 0-2521-1571 ,0-2552-0997 โทรสาร 0-2972-8839
วัดสารอด ที่ตั้ง 25 ซอย สุขสวัสดิ์ 44 แขวง ราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 โทร 0-2428-5959
วัดเครือวัลย์วรวิหาร ที่ตั้ง ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 โทร 0-2405-3709 , 02-465-3565
วัดมกุฏกษัตริยาราม ที่ตั้ง 330 ถนนกรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0-2280-1863 , 0-2281-2089 โทรสาร 0-2629-0969
วัดตรีทศเทพวรวิหาร ที่ตั้ง 167 ถนน ประชาธิปไตย แขวง บ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทร 0-2282-4453 , 0-2629-5889
วัดเสมียนนารี ที่ตั้ง ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โทร 0-2580-2729 , 092-6859589
วัดธาตุทอง ที่ตั้ง 1325 ถ. สุขุมวิท แขวง พระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทร 0-2391-9616
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจองศาลาเพื่อจัดงานศพ
เลือกวัดไหนดี: การพิจารณาว่าจะจัดพิธีศพที่วัดไหนนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย การเดินทาง และผู้ช่วยดำเนินงาน รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้งานศพเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตรงกับความตั้งใจ
การติดต่อวัด: เมื่อระบุวัดที่ต้องการจัดพิธีได้แล้ว ให้ติดต่อวัดโดยสามารถโทรสอบถามเกี่ยวกับการจัดพิธีศพ โดยปกติก็สามารถค้นหาข้อมูลติดต่อของวัดได้จากเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต
ลำดับความสำคัญและความต้องการของคุณ: เมื่อคุณติดต่อวัดแล้ว ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ สอบถามรายละเอียดในการดำเนินงาน และหากมีคำถามก็ควรถามให้เรียบร้อยก่อน ทั้งนี้บางวัดอาจช่วยอำนวยความสะดวกเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆให้ หรือ บางวัดเจ้าภาพจะต้องดำเนินการเตรียมเอง อีกทั้งอาจมีกรณีที่เจ้าภาพต้องการจัดกิจกรรมอื่นๆที่ทางวัดไม่สะดวกให้ดำเนินการ เช่น จัดกงเต๊ก เป็นต้น ดังนั้น ควรสอบถามและหารือให้เรียบร้อยก่อนการเริ่มพิธี
งบประมาณ: รูปแบบ องค์ประกอบ ในการดำเนินงาน และขนาดของศาลามีผลต่อค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ ดังนั้น หากต้องการไม่ให้งบบานปลายก็ควรที่จะวางแผนให้เรียบร้อย
จัดงานศพเอง หรือ จ้างออแกไนซ์รับจัดงานศพให้ดำเนินการแทน: หลังจากที่คุณได้ทบทวนความต้องการและงบประมาณในการจัดงานศพแล้ว ก็สามารถติดต่อวัดต่างๆตามต้องการได้แลย แต่หากต้องการความสะดวก และมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานให้ลุล่วงตามขนบธรรมเนียมประเพณี ให้พิธีกรรมทางศาสนาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ครบถ้วนและสมบูรณ์ โดยต้องการให้ออแกไนซ์ทำการจองศาลา และช่วยดำเนินการจัดงานศพให้ทั้งหมด สามารถติดต่อได้ที่ ฟิวเนอรัล แพลน โทร 0642896394 หรือ ขอรายละเอียดได้ที่ line id: @funeralplans คลิ๊กอ่านรายละเอียด แพ็กเกจจัดงานศพ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดงานศพ
ก่อนที่เราจะไปจองศาลาหรือติดต่อวัดเพื่อจัดงานศพ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ หรือความตั้งใจในการจัดงานศพของตัวเราหรือครอบครัวกันก่อนว่า ต้องการจัดตามทัศนคติ หรือ ค่านิยมในการปฏิบัติแบบไหนจึงถือว่าเหมาะสม
การจัดพิธีศพตามคติธรรม - แนวทางในพุทธศาสนา
การจัดการศพในพระพุทธศาสนานั้นมีหลักการพื้นฐานคือความเรียบง่าย เนื่องจากเห็นว่า ความตายเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะต้องประสบพบเจอกันทุก คน ไม่มีใครหนีพ้นไปได้ ประกอบกับร่างกายที่ปราศจากวิญญาณนั้นไม่มีความจาเป็นใดใดที่ จะต้องอาวรณ์เลย จึงจัดการศพให้เรียบง่าย อ้างอิงจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) รวบรวมโดย บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ ชี้แจงไว้ถึงเรื่องการจัดงานศพที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานั้นมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ความเรียบง่าย เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่าศพของมนุษย์นั้นเป็นเหมือนท่อนไม้ที่ไร้วิญญาณ ไม่ควรแก่การคร่าครวญ ห่วงหา จึงไม่จาเป็นต้องมีการดำเนินการใดๆ ให้ยุ่งยากซับซ้อน จะเห็นได้จากการนำไปทิ้งให้เป็นอาหารของสัตว์ต่างๆ หรือเผาอย่างเรียบง่ายภายในวันเดียวหรือสองวัน โดยไม่ต้องมีแม้กระทั่งจิตกาธาน ดังกรณีของพระพาหิยะพระพุทธเจ้าตรัสเพียงให้ยกไว้บนเตียงแล้วเผา ไม่มีพิธีสวดพระอภิธรรม บังสุกุลอย่างเช่นในสังคมไทย ด้วยวิธีที่เรียบง่ายนี้การจัดงานศพจึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ปัญหาคนตายขายคนเป็นจะไม่เกิดขึ้น ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
2. คติธรรมจากงานศพ จะสังเกตว่าในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าทรงใช้ศพเป็นเครื่องมือสอนธรรมให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสังขาร อายุบุคคล มีพระเถระหลายรูปที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลโดยการพิจารณาซากศพ เป็นการเข้าใจโดยตรงจากสภาพจริงไม่ใช่ปริศนาธรรม แต่ในการจัดงานศพปัจจุบันนั้นไม่ได้สอนหรือนำมาเป็นอุทาหรณ์โดยตรงเช่นในอดีต กระนั่น ในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเรียนรู้หลักธรรมจากปริศนาธรรมที่เกิดขึ้นในงานศพแทน เช่น การจุดตะเกียงท้ายศพ การเรียกศพกินข้าว เป็นต้น
3. การเก็บอัฐิ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการเก็บอัฐิเฉพาะกรณีของพระพุทธเจ้าและพระสาวกองค์สาคัญ เช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระพาหิยทารุจริยะ โดยให้ทาเจดีย์สาหรับบรรจุอัฐิธาตุของท่านเหล่านี้ไว้ทั้งนี้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เคารพสักการะ โดยทรงยกถูปารหบุคคลคือบุคคลที่ควรทาสถูปไว้สักการบูชา 4 ประเภทขึ้นแสดง ส่วนบุคคลทั่วไปนั้นไม่นิยมการเก็บอัฐิ
จะเห็นได้ว่าการจัดงานศพในปัจจุบันมีความแตกต่างจากที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก แม้สังคมไทยจะเป็นสังคมพระพุทธศาสนา แต่อิทธิพลของความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อพราหมณ์ฮินดูได้เข้ามามีส่วนในการกาหนดรูปแบบพิธีกรรมงานศพด้วย ทำให้การจัดงานศพมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังผูกปริศนาธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ขบคิดกันได้
ขั้นตอนในการจัดงานศพ
การจัดการศพในปัจจุบันของประชาชนชาวพุทธโดยทั่วไปในวันแรกจะจัดให้มีการรดน้ำศพ และช่วงค่ำจะนิมนต์พระสงฆ์ให้มาสวดพระอภิธรรม (คืนละ 4 รูป - จำนวน 1, 3, 5, 7 คืน) และในวันฌาปนกิจจะนิมนต์พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์และแสดงธรรมเทศนา ครอบครัวและญาติๆ ตลอดจนเพื่อนของผู้วายชนม์ก็จะมาถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ เชื่อกันว่าเป็นการช่วยส่งผลบุญให้ผู้ตาย และทำการประชุมเพลิงที่เมรุเป็นลำดับขั้นตอนถัดไป จากนั้นจึงทำการเก็บอัฐิในวันรุ่งขึ้น
ศาลาสวดพระอภิธรรม - ตั้งศพสวดบำเพ็ญกุศล
ในศาลาจะเป็นพื้นที่สำหรับตั้งโลงศพ และจัดพิธีสงฆ์ นอกจากนี้ศาลาในบางวัดยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ และเครื่องปรับอากาศ และที่สำคัญคือขนาของศาลา ที่สามารถรองรับผู้มาร่วมพิธีศพ
ฟิวเนอรัล แพลน ขอร่วมแสดงความเสียใจมา ณ โอกาสนี้ หากท่านกำลังสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่าน และเป็นกำลังใจให้ท่านผ่านพ้นช่วงเวลาที่รู้สึกยากลำบากนี้ไปได้ด้วยดี
Comentaris