ชี้ร้าน ผ้าไตรจีวร และ ชุดสังฆทาน เพื่อนำไป ทำบุญ ถวาย สังฆทาน
top of page
ค้นหา

แนะนำ ผ้าไตรจีวร และ ชุดสังฆทาน เพื่อนำไป ทำบุญ ถวาย สังฆทาน ราคา 400 - 5,000

อัปเดตเมื่อ 22 มิ.ย. 2566

บทนำ


ผ้าไตรจีวร เป็นเครื่องนุ่งห่มที่บ่งบอกถึงความเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยครั้งพุทธกาล ถึงแม้ว่าในอดีตพุทธกาล ผ้าไตรอาจจะมีเพียงไม่กี่รูปแบบ แต่เมื่อมีการเผยแผร่พระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางจนเกิดเป็นนิกายต่าง ๆ ทั่วโลก ในแต่ละท้องที่ก็มีการใช้จีวรที่แตกต่างกันไป ตามคติธรรมของแต่ละนิกาย ตลอดจนสภาพภูมิประเทศอากาศ ที่แตกต่างกัน

สำหรับท่านที่ต้องการซื้อผ้าไตร เพื่อนำไป ทำสังฆทานไม่ว่าจะที่วัดหรือที่ บ้าน แต่ยังไม่มั่นใจว่า จะซื้อแบบไหนดี เนื่องจากมีหลายชนิด หลายแบบ ทั้งเรื่องสีของ จีวร ชนิดและขนาดความยาว ดังนั้น ในบทความนี้ จะช่วยทำให้ท่านได้ เลือกซื้อไป ถวายสังฆทาน ในโอกาสต่างๆได้ตามที่ตั้งใจไว้อย่างดีที่สุด


ซื้อผ้าไตรจีวร ราคา ประหยัด


ซื้อผ้าไตรจีวร ผ้าไตรเต็ม 7 ชิ้น ผ้ามัสลิน


ซื้อผ้าไตรจีวร ผ้าไตรเต็ม 7 ชิ้น ผ้าโทเร เกรด A



1. ผ้าไตร หรือ จีวรพระ ราคา เท่าไหร่


ราคาจะขึ้นกับชนิดของผ้า และขนาด รวมถึงกรรมวิธีที่นำมาตัดเย็บ ซึ่งราคาของจีวรจะมีราคาเริ่มตั้งแต่ 400 บาท ขึ้นไป และ อาจสูงถึงหลัก หมื่นบาท หากเป็นจีวรที่ทำจากผ้าไหมอย่างดี และขอแนะนำว่า ให้เลือกซื้อตามกำลัง ตามความเหมาะสมของงบประมาณที่มี ท่านอาจพิจารณาซื้อตามคุณภาพ เช่น เลือกซื้อผ้าไตรดีๆซักผืน แทนการซื้อผ้าไตรธรรมดา จำนวน 5 ผืน หรือ จะซื้อผ้าไตรราคา ไม่ต้องสูงมาก เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ได้หลายรูปก็ได้ ขึ้นกับดุลพินิจของท่านเอง



2. เลือกซื้อ ผ้าไตร แบบไหน


โดยทั่วไปผ้าไตรจีวร จะหมายถึง ผ้า 3 ชิ้น ประกอบด้วย จีวร สบง และสังฆาฏิ แต่อย่างไรก็ตาม หากไป ร้านสังฆภัณฑ์ คนขายก็อาจจะถามว่าจะรับเป็นแบบไหนดี ซึ่งรายละเอียดเป็นดังนี้


ผ้าไตรครอง : หรือ ผ้าไตรเต็ม (ไตรครบชุด) ซึ่งเป็นผ้าไตรจีวรที่พระสงฆ์ใช้สำหรับสวมครอง เป็นผ้าผืนหลักและมีผืนเดียวสำหรับการนุ่งห่ม ซึ่งผ้าไตรครอง จะมีองค์ประกอบ 7 ชิ้น คือ

  • จีวร คือ ผ้าใช้สำหรับห่ม หรือที่เห็นพระสงฆ์ทั่วๆ ไปท่านสวมครอง

  • สบง คือ ผ้าใช้สำหรับนุ่ง เปรียบเสมือนกับกางเกงสำหรับพระ

  • อังสะ คือ ผ้าใช้สำหรับสวม คล้ายเสื้อตัวใน จะสวมเบี่ยงไปที่บ่าด้านหนึ่ง

  • สังฆาฏิ คือ ผ้าผืนใหญ่เหมือนจีวร ใช้วางพาดที่บ่า หรือห่มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันความหนาว

  • ผ้ารัดอก คือ ผ้าใช้สำหรับรัดรอบเอวหรืออกโดยเฉพาะ

  • รัดประคด คือ สายรัดเหมือนเข็มขัด ทำจากไนลอน ใช้คาดทับสบงให้กระชับ แน่น ไม่หลุด

  • ผ้าประเคน คือ ผ้าใช้รับประเคนหรือถวายสิ่งของ ไว้รับต่อจากญาติโยมที่เป็นผู้หญิง

ผ้าไตรอาศัย : หรือ ไตรแบ่ง ซึ่งหมายถึงผ้าไตรที่พระสงฆ์ใช้สำหรับสวมครองในชีวิตประจำ มีแค่ 3 ชิ้นคือ จีวร สบง และอังสะ ซึ่งผ้าไตรอาศัย ราคาถูก กว่า ผ้าไตรครอง (ผ้าไตรเต็ม) เพราะมีจำนวนชิ้นน้อยกว่า


กดที่ภาพเพื่อซื้อผ้าไตรจีวร - ผ้าไตรเต็ม (7ชิ้น) เนื้อผ้ามัสลิน


3. ผ้าไตรจีวร 5 ขันธ์ และ ผ้าไตรจีวร 9 ขันธ์


"ขัณฑ์" ความหมายคือ ส่วน ท่อน หรือ ชิ้น หรือ แยกกันออกไป แต่ปัจจุบันอาจสะกดผิด เป็น ขันธ์ ขัณฑ์ คือ ลักษณะของการเย็บผ้า จำนวนชิ้นผ้าที่ตัดขาดจากกัน นำมาเย็บต่อเข้าเป็นผืนเดียวกัน เช่น ผ้าไตร 9 ขัณฑ์ คือ ผ้า 9 ชิ้น ที่นำมาเย็บต่อเป็นผืนเดียวกันใช้เป็นสบงหรือจีวร (จำนวนขัณธ์มาก จำนวนชิ้นผ้าก็มากตาม) สำหรับพระวัดทั่วไป (มหานิกาย) นิยมถวาย ผ้าไตร 5 ขัณฑ์ | สำหรับพระวัดป่ากรรมฐาน (ธรรมยุติ) นิยมถวายผ้าไตร 9 ขัณฑ์


4. เลือกซื้อ ผ้าไตรจีวร ขนาด เท่าไหร่


เนื่องจากผ้าไตรจีวรมีหลายขนาดความยาว จึงควรเลือกซื้อตามความสูงของพระภิกษุสงฆ์เป็นหลัก แต่หากไม่ทราบ หรือ ซื้อเพื่อจะนำไป ทำบุญ โดย ถวายสังฆทาน (ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์) ที่ไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นใคร ก็ให้ซื้อที่ขนาด 1.90 ม.

ไซส์มาตรฐานที่จำหน่ายทั่วไป ดังนี้

  • ขนาด 1.80 ม. เหมาะกับท่านที่มีส่วนสูงประมาณ 150-160 ซม.

  • ขนาด 1.90 ม. เหมาะกับท่านที่มีส่วนสูงประมาณ 160-170 ซม.

  • ขนาด 2.00 ม. เหมาะกับท่านที่มีส่วนสูงประมาณ 175 ซม.

  • ขนาด 2.10 ม. เหมาะกับท่านที่มีส่วนสูงประมาณ 180 ซม. ขึ้นไป หรือมีรูปร่างใหญ่

5. เนื้อผ้า ของ ผ้าไตร จีวร ควรเลือกอย่างไร


ผ้าที่นำมาใช้ตัดเย็บ ปัจจุบัน มีอยู่ 4 ประเภท เรียงจากความหนาของผ้า จากเนื้อผ้าบางไปหาเนื้อผ้าหนา


ผ้ามัสลิน

จัดว่าเป็นผ้าที่มีมาไม่น้อยกว่า 300 ปี มีต้นกำเนิดที่เมือกดักกา ประเทศบังกลาเทศ เผยแพร่และได้รับความนิยมในแถบตะวันออกกลาง โดยตั้งชื่อตามเมืองที่ชาวยุโรปไปพบ คือเมือง Mosul เหตุที่ศูนย์บริขารธุดงค์เลือกผ้ามัสลินมาตัดเย็บเพราะเป็นผ้าเนื้อละเอียด ระบายอากาศดี แห้งเร็ว น้ำหนักเบา เหมาะกับเมืองร้อนแบบบ้านเรา จีวรผ้ามัสลินของศูนย์บริขารธุดงค์ถือเป็นจีวรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด


ผ้าเบอร์หมื่น (ผ้าประภัสสร)

เป็นผ้าที่มีความหนามากกว่าผ้ามัสลินขึ้นมาอีกนิด เนื้อผ้าซับเหงื่อได้ดี เนื้อผ้านิ่ม นุ่งห่มสบาย สบงผ้าเบอร์หมื่นของศูนย์บริขารธุดงค์นั้นได้รับความนิยมมาก เพราะใช้แล้วเนื้อผ้าจะนิ่ม นุ่งสบาย


ผ้าซันฟอร์ไรท์ (ผ้าดิบลาย1)

เป็นผ้าที่มีเนื้อหนาถัดจากผ้าเบอร์หมื่น เป็นผ้าเนื้อหนาเหมาะสำหรับนุ่งห่มในที่ๆอากาศเย็น


ผ้าลาย2

เป็นเนื้อผ้าที่หนาที่สุดของศูนย์บริขารธุดงค์ ที่ใช้ตัดเย็บชุดไตร จีวร เนื้อผ้าทนทานมาก

อย่างไรก็ดี ผ้าไตรจีวร ที่ขายกันตาม ร้านสังฆภัณฑ์ จะมีผ้าไตรจีวร หลัก ๆ 2 ชนิด คือ ผ้าโทเร และ ผ้ามัสลิน

  • จีวร ทำจากผ้าโทเร - เน้นความคงทน ราคาถูก ผ้าโทเร เป็นผ้าที่ทำจากเส้นใยผสมระหว่าง ผ้าฝ้ายธรรมชาติ 35 % กับเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ประมาณ 65 % ใช้งานได้ดี แต่ไม่สบายตัว การซับน้ำอาจไม่ค่อยดี แห้งยาก ดูแลรักษาง่าย สีไม่ตก

  • จีวร ทำจากผ้ามัสลิน - เน้นใส่สบาย ราคาค่อนข้างสูง ราคาปานกลาง ใช้ได้ดี เหมาะกับประเทศไทยที่อากาศร้อนแห้งแล้ง เพราะเนื้อผ้านิ่มนุ่มนวล สวมใส่แล้วเย็นสบาย มีน้ำหนัก ห่มง่ายทิ้งตัวดี ดูดซับเหงื่อและระบายอากาศได้เป็นอย่างดี แห้งง่าย ใช้ทน เหมาะกับประเทศไทย ดังนั้น หากมีงบประมาณที่พอซื้อได้ก็จะแนะนำให้ซื้อผ้าไตรจีวรที่ตัดเย็มจากผ้ามิสลิน

  • ผ้าชนิดอื่นๆ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าซันฟอไรซ์ และ ผ้าไหม

6. ผ้าไตรจีวร สีต่าง ๆ


เนื่องจากพระพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นนิกายเถรวาท คณะสงฆ์ได้แบ่งลักษณะการบริหารออกเป็น 2 ฝ่าย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับสีของจีวร ดังนั้น หากทราบล่วงหน้าว่าจะนำผ้าไตรจีวรไปถวายสังฆทาน หรือ ทำบุญ ที่วัดไหน ก็จะได้ซื้อได้ถูกสี ซึ่งสามารถโทรสอบถามวัด หรือ สังเกตเอาเอง หรือ ไม่ก็ถามร้านสังฆภัณฑ์เลยก็ได้ แต่ทั้งนี้ โดยส่วนมากก็จะนิยมใช้ สีทอง กับ สีพระราชนิยม เป็นหลัก

ตัวอย่าง สีของผ้าไตรจีวร

  • ชุดจีวรสีทอง หรือสีเหลืองส้ม จะพบเห็นได้ทั่วไปตามวัดมหานิกาย

  • ชุดจีวรจีวรสีกรัก ผ้าไตรสีแก่นขนุน หรือสีแก่นบวร เป็นสีน้ำตาลอมเหลือง เดิมนิยมใช้ในวัดธรรมยุติกนิกาย

  • ชุดจีวรจีวรสีพระราชนิยม หรือสีวัง เป็นสีกลางระหว่างสีเหลืองส้มกับสีแก่นขนุน ที่รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานให้พระภิกษุใช้ในวัดอารามหลวงและออกงานพิธีสำคัญและให้ใช้ได้ทุกวัดในประเทศไทยทุกนิกายทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย

  • ชุดจีวรจีวรสีแก่นขนุนเข้ม เป็นสีน้ำตาลอมเขียว นิยมใช้ในหมู่พระป่าหรือพระสายกรรมฐานทางภาคอีสาน

  • ชุดจีวรจีวรสีกรักแดง หรือ ผ้าไตรสีน้ำหมาก เป็นจีวรสีน้ำตาลอมแดง นิยมในเหล่า “ครูบา” พระสงฑ์ในภาคเหนือ ซึ่งบางส่วนครองตามแบนแผนของสงฆ์พม่า

7. อานิสงส์ถวายผ้าไตร (ความเชื่อ)

  • สามารถตัดบาปออกจากจิตใจ กำจัดกิเลสคือความโลภ ความตระหนี่ถี่เหนียว ให้บรรเทาเบาบาง

  • ยืน เดิน นั่ง เป็นสุขใจ เบิกบาน เกิดความภาคภูมิใจในบุญกุศลบังเกิดความอิ่มบุญ สุขใจ

  • พ้นจากความยากจน ความลำบาก ขัดสนใจทุกภพทุกชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปัจจัย 4

  • อานิสงส์ที่จะเกิดขึ้นในชาติหน้า จะเกิดมาเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อมด้วยหน้าตาที่งดงาม และสติปัญญาที่น่านับถืออย่างยิ่ง เกิดชาติใดภพใด จะเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส

  • หากเมื่อใดก็ตามจะต้องพบกับความมีอุปสรรค อุปสรรคนั้นจะผ่านพ้นไปด้วยดี อย่างสัตว์มีพิษและของมีคมต่างๆ ก็ทำร้ายไม่ได้

  • จะได้รับอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ จะเป็นผู้ที่พร้อมด้วยเสื้อผ้า อาภรณ์ และเครื่องประดับ มีแต่ผู้คนให้ความเคารพยกย่อง มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของคนทุกหมู่เหล่า

สรุป แคปชั่น ทำบุญ


ผ้าไตรจีวรที่นำไปถวายวัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ต้องถูกประเภท และก็เหมือนกับการเลือกซื้อ ชุด เสื้อผ้า ซึ่งมีหลายเนื้อผ้า หลายยี่ห้อ หลายขนาด และมีหลายราคา ซึ่งมีผลกับอายุการใช้งาน และคุณภาพในการใช้สวมใส่ หลายคนมักกังวลเวลาจะแวะซื้อสังฆทานไปถวายพระ กลัวว่าจะได้ของไม่ดีบ้าง ของหมดอายุไปแล้วบ้าง ดังนั้น หากมีเวลา ก็แนะนำให้เตรียม สังฆทานจัดเอง และซื้อผ้าไตรไปถวายพระ ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด


กดที่ภาพเพื่อซื้อผ้าไตรจีวร - ผ้าไตรอาศัย (3ชิ้น) เนื้อผ้าโทเร


คำถามที่พบบ่อย เรื่องการนำ ผ้าไตร ไป ถวายสังฆทาน


จีวร หมายถึงอะไร

คำว่า จีวร มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ้าที่ขาดกะรุ่งกะริ่ง เป็นเครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณร โดยจะสวมใส่คู่กับสบง จากความหมายเดิม ทำให้รู้ว่าในสมัยพุทธกาล การจะหาผ้ามาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่มทำได้ยากมาก พระภิกษุต้องเก็บเอาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ บ้าง มีคนถวายบ้าง และบางทีก็เป็นผ้าห่อศพบ้าง ซึ่งเรียกว่าผ้าบังสุกุล มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็ก ๆ และเย็บปะติดปะต่อกันจนได้เป็นลายคันนา ซึ่งออกแบบโดยพระอานนท์ จากนั้นจึงนำมาซักและย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ สีจึงไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกัน


ไตรจีวร คืออะไร

ไตรจีวร หรือที่คนไทยเรียกสั้นๆว่าผ้าไตร เป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม อันได้แก่ สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) อุตราสงค์ (ผ้าจีวรสำหรับห่ม) และอันตรวาสก (ผ้าสบงสำหรับนุ่ง)


ไอเดีย จัดชุดสังฆทาน ด้วยตัวเอง

เครื่องไทยธรรม จัดเอง เพื่อนำไปถวายสังฆทาน ประเภทอาหาร เช่น ข้าวสาร น้ำเปล่า อาหารแห้ง ฯลฯ ประเภทของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าไตรจีวร สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เป็นต้น

ดู 545 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page