ขณะที่เรามีชีวิตอยู่ เราควรทำความดีให้มากและสม่ำเสมอ ซึ่งการทำความดีก็สามารถทำได้หลายรูปแบบ เนื่องจากหากมีความเชื่อเรื่องกรรมแล้ว ความตายย่อมอยู่ใกล้เราตลอดเวลา ความตายอยู่ใกล้แค่เอี้อม จะมาเมื่อไหร่ไม่มีใครสามารถรู้ได้ล่วงหน้า อาจจะไม่มีพรุ่งนี้ให้คุณได้ทำในสิ่งที่อยากทำ หรือนอนหลับในวันนี้อาจจะไม่ได้ตื่นขึ้นมาคุยกับคนในครอบครัวของคุณก็ได้ ความตายพรากคุณไปจากทุกสิ่ง
หากเมื่อความตายมาถึง การดำเนินการตามความเชื่อ ตามพิธีทางศาสนา ก็เป็นกระบวนการที่ควรทำให้แก่ผู้เสียชีวิต โดยขั้นตอนต่างๆในการบำเพ็ญกุศล ได้แก่ การรดน้ำศพ การขอขมา การสวดพระอภิธรรม พิธีฌาปนกิจ และหลังจากนั้นก็จะถึงขั้นตอนการนำอัฐิ เถ้ากระดูกไปทำพิธีลอยอังคาร ซึ่งขั้นตอนการลอยอังคารนี้ ขึ้นกับความต้องการของแต่ละครอบครัว หากท่านได้สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ทางฟิวเนอรัล แพลน ขอร่วมแสดงความเสียใจมา ณ โอกาสนี้
บริการ เรือลอยอังคาร เพื่อประกอบ พิธีลอยอังคาร ในกรุงเทพ
รายละเอียดบริการเรือลอยอังคาร: ฟิวเนอรัล แพลน บริการเรือลอยอังคารในกรุงเทพ ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 60 นาที เหมาะกับผู้ที่อาศัยในกรุงเทพ, ผู้ที่ต้องการความสะดวก และมีเวลาจำกัด โดยจะขึ้นเรือที่ท่ามหาราช (community mall) มีที่จอดรถ และทำการลอยอังคารในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัดอรุณ โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดระฆังเป็นผู้ดำเนินพิธีลอยอังคารให้กับเจ้าภาพ โดยเจ้าภาพเพียงนำ อังคาร (ที่ใส่ลุ้งดินนำมาจากวัด), ภาพถ่ายผู้วายชนม์ และ เตรียมปัจจัย สำหรับถวายพระสงฆ์บนเรือ 1 รูป
เรือลอยอังคาร : ฟิวเนอรัล แพลน ใช้บริการเรือเช่าจากบริษัทเรือสุภัทรา ซึ่งเป็นบริษัทเดินเรือที่ดี่ที่สุดในปัจจุบัน มีมาตรฐานในการให้บริการ สะอาด ปลอดภัย ทำให้ท่านคลายความกังวลใจในการเดินทาง
แพ็กเกจลอยอังคาร พร้อมผู้ช่วยดำเนินพิธี และอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีลอยอังคาร
เครื่องไหว้แม่ย่านาง: พวงมาลัย 1 พวง / ธูป 7 ดอก เทียน 1 เล่ม / เชือก 1 เส้น / พาน 1 ใบ
เครื่องบูชาเจ้าแม่นทีและท้าวสีทันดร: กระทงดอกไม้ 7 สี 1 กระทง / ธูป 7 ดอก เทียน 1 เล่ม / พานโตก 1 ใบ
เครื่องไหว้อังคารบนเรือ: พวงมาลัย 1 พวง / ดอกมะลิ กลีบกุหลาบหรือดอกไม้อื่นๆ / ดอกกุหลาบเท่าจำนวนผู้ร่วมพิธี / น้ำอบไทย 1 ขวด / ธูปเทียนเครื่องทองน้อย 1 ชุด หรือ ธูป 1 ดอก เทียน 1 เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน 1 ชุด / สายสิญจน์ 1 ม้วน / พานโตก 1 ใบ / พานก้นลึก 1 ใบ / พานก้นตื้น 1 ใบ.
สอบถามรายละเอียด จองเรือลอยอังคาร หรือ ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน ได้ที่
โทร : 06-4289-6394 หรือ Line id : @funeralplans
ในการจองเรือ รบกวนเจ้าภาพ แอดไลน์ เพื่อแจ้ง วัน-เวลา และประเภทเรือที่ต้องการ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการคอนเฟิร์มเรือกลับไป และให้ทำการชำระเงินเพื่อจองเรือ และในการจองเรือรบกวนแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อเตรียมอุปกรณ์และนิมนต์พระสงฆ์
ตัวอย่าง แพ็กเกจลอยอังคาร ท่ามหาราช - วัดอรุณ
อัตราค่าบริการ แพ็กเกจลอยอังคาร ท่ามหาราช - วัดอรุณ
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 12 ท่าน
เรือ วอเตอร์ ลีมูซีน (Water Limousine) ราคา 5,200 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 15 ท่าน
เรือ ศาลาไทย (Sala Thai) ราคา 7,800 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 20 ท่าน
เรือ สุภาพรรณ (Supapan) ราคา 7,500 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 20 ท่าน
เรือ สุภัทรา-7 (Supatra 7) ราคา 8,800 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 32 ท่าน
เรือ สุภัทรา (Supatra) ราคา 9,800 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
แพ็กเกจลอยอังคาร เรือลอยอังคาร สำหรับผู้โดยสารไม่เกิน 40 ท่าน
เรือ แกรนด์ สุภัทรา (Grand Supatra) ราคา 10,900 บาท
นิมนต์พระสงฆ์ และมีเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยดำเนินพิธี
ประกันภัยการเดินทาง (บ.เรือสุภัทรา เป็นผู้ดำเนินการ)
อุปกรณ์ในพิธีลอยอังคาร
ระยะเวลา 60 นาที
ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรณีต้องการออกใบกำกับภาษี)
สอบถามรายละเอียด จองเรือลอยอังคาร หรือ ติดต่อ ฟิวเนอรัล แพลน ได้ที่
โทร : 06-4289-6394 หรือ Line id : @funeralplans
ในการจองเรือ รบกวนเจ้าภาพ แอดไลน์ เพื่อแจ้ง วัน-เวลา และประเภทเรือที่ต้องการ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการคอนเฟิร์มเรือกลับไป และให้ทำการชำระเงินเพื่อจองเรือ และในการจองเรือรบกวนแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน เพื่อเตรียมอุปกรณ์และนิมนต์พระสงฆ์
การเดินทางไป ลอยอังคาร ท่ามหาราช - วัดอรุณ
หมายเหตุ: เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงการเดินทางสำหรับลูกค้า (ข้อกำหนด โดย บ.เรือสุภัทรา)
บริษัท เรือสุภัทรา ไม่มีนโยบายในการคืนเงินที่ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้ว ทุกกรณี
บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการยกเลิกการจองเรือ แต่อนุญาตให้เลื่อนวันล่องเรือใหม่ได้ ภายในระยเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันล่องเรือครั้งแรก ยกเว้น วันลอยกระทง วันสิ้นปี และวันขึ้นปีใหม่ โดยต้องแจ้งเลื่อนวันล่องเรืออย่างน้อย 24 ชม. ก่อนวันล่องเรือวันแรก
กรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถล่องเรือได้ เช่น ฝนตกหนัก ระดับน้ำในแม่น้ำผันผวน หรือการปิดแม่น้ำโดยคำสั่งของรัฐ เป็นต้น สามารถเลื่อนการเดินทางได้ 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันล่องเรือครั้งแรก ยกเว้น วันลอยกระทง วันสิ้นปี และวันขึ้นปีใหม่
กรณีเลื่อนวันล่องเรือทุกกรณี หากมีค่าใช้จ่ายอื่นใดที่นอกเหนือจากการเช่าเรือเกิดขึ้นจากวันล่องเรือวันแรก อาทิ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าอุปกรณ์ตกแต่งเรือ และ/หรืออื่นๆ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าเงินที่ได้ชำระให้แก่บริษัทฯ แล้ว ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว
พิธีลอยอังคาร กับ คำถามที่พบได้บ่อย
1. ไป ลอยอังคาร ที่ไหนดี
นอกจากการลอยอังคารบริเวณหน้าวัดอรุณนี้ ในบริเวณกรุงเทพยังมีบริเวณอื่นๆ ที่นิยมไปลอยอังคาร เช่น
ปากคลองดาวคะนอง ลอยอังคารที่ หน้าวัดบุคคโล หรือ สะพานกรุงเทพ มีจุดลงเรือที่: ท่าวัดราชสิงขร, ท่าวัดวรจรรยาวาส, ท่าสาทร
ปากคลองอ้อม ลอยอังคารที่ หน้าวัดเฉลิมพระเกียรติ หรือ สะพานมหาเจษฎาบดินทร์ มีจุดลงเรือที่: ท่านนทบุรี ท่าวัดสลักใต้
ปากคลองลัดเกร็ด ลอยอังคารที่ หน้าวัดปรมัยยิกาวาส หรือ หน้าองค์หลวงพ่อโตวัดบางจาก หรือ ปากด่านหน้าพุทธสถานเชิงท่า มีจุดลงเรือที่: ท่าปากเกร็ด ท่าวัดกลางเกร็ด (เรือด่วนเจ้าพระยา)
ปากอ่าว (ป้อมพระจุล) จ.สมุทรปราการ จุดลงเรือที่: ท่าน้ำวัดบางนางเกรง
และในต่างจังหวัด นิยมเดินทางไปทำพิธีที่
ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี
หน้าวัดหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา
2. ของใช้ใน พิธีลอยอังคาร ใช้อะไรบ้าง
อุปกรณ์เครื่องใช้ในพิธีการลอยอังคาร โดยทั่วไปประกอบด้วย
1. เครื่องสำหรับบูชาแม่ย่านางเรือ
ดอกไม่สด 1 กำ หรือพวงมาลัย 1 พวง
พานเล็ก 1 ใบ ( สำหรับใส่ดอกไม้ธูปเทียน )
ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม
เชือก 1 เส้น (สำหรับมัดธูปและดอกไม้ไว้ที่เสาหัวเรือ)
2. เครื่องบูชาเจ้าแม่นทีและท้าวสีทันดร
กระทงดอกไม้ 7 สี 1 กระทง
พานโตก ขนาดกลาง 1 ใบ (สำหรับใข้งางกระทงดอกไม้ 7 สี)
ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม
3. เครื่องไหว้อังคารบนเรือ
ธูป 1 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน 1 ชุด
น้ำอบไทย 1 ขวด
พวงมาลัย 1 พวง
ดอกมะลิ กลีบกุหลาบ (สำหรับผู้ร่วมพิธีโรยบนอังคาร)
ดอกกุหลาบ
ธูป 1 ดอก เทียนหนัก 1 บาท 1 เล่ม พร้อมกระถางธูปเชิงเทียน 1 ชุด
สายสิญจน์ 1 ม้วน
พานโตกขนาดกลาง 1 ใบ (สำหรับรองลุ้งอังคาร)
พานก้นลึกขนาดเล็ก 1 ใบ (สำหรับใส่ดอกไม้ต่าง ๆ)
พานก้นตื้น 1 ใบ (สำหรับใส่เงินเหรียญ)
3. ที่มา “พิธีลอยอังคาร” ลอยทำไม เหตุใดเรียกเถ้ากระดูกว่า “อังคาร” ?
ที่มาของการเรียกเถ้าที่เกิดจากการเผาศพว่า อังคาร นั้น มาจากคำในภาษาบาลี-สันสกฤตว่า องฺคาร อ่านว่า อัง-คา-ระ แปลว่า “ถ่าน” ซึ่งหมายรวมทั้งถ่านที่ติดและไม่ติดไฟ จึงเรียกเถ้าถ่านและเถ้ากระดูกหลังการเผาศพว่า อังคาร
การนำเถ้ากระดูก, อังคาร และอัฐิ ลงสู่แม่น้ำเป็นประเพณีที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ของอินเดีย ที่สามารถพบเห็นได้ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการชักนำดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่สุคติ โดยมีแนวความคิดที่ว่า “การนำเถ้ากระดูกของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ไปลอยน้ำจะนำมาสู่ความร่มเย็นเป็นสุข ดังกับสายน้ำ” เนื่องจากชาวอินเดียเชื่อว่าเป็นแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถช่วยชำระล้างบาปให้กับดวงวิญาณของเถ้าที่ลอยไปกับสายน้ำ
หากพิจารณาเป็นคติธรรม พิธีลอยอังคาร สามารถจำแนกเป็นเรื่องของ “การปล่อยวาง” และตระหนักรู้ถึง “สภาพเป็นจริง” ของสังขาร ในที่นี้คือเถ้ากระดูกซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงความเชื่อที่ว่าร่างกายของสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ เมื่อกายแตกดับ ธาตุทั้ง 4 ย่อมกลับสู่สภาพธาตุดั้งเดิม
ความเชื่อที่ผสมผสานปนเปกัน จึงเป็นที่มาของความเชื่อว่าด้วย “พิธีลอยอังคาร” และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือต่อๆกันมาจนกลายเป็นประเพณีเพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับไปสู่สุขคติ สู่ภพภูมิที่ดี และพบพานความสงบร่มเย็น สำหรับพิธีลอยอังคารในไทยมักทำในแม่น้ำใหญ่สายหลักสายต่าง ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง บ้างก็ลอยกลางท้องทะเล โดยจัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของพิธีศพ
ลอยอังคาร คือ การนำเถ้ากระดูก ไปลอยในน้ำ
ชิ้นส่วนกระดูก เรียกว่า “อัฐิ” จะถูกบรรจุใน “โกศ” หรือ "เบญจรงค์" ส่วนที่นำไปโปรยลงน้ำคือเถ้า ซึ่งเถ้าเหล่านี้มีทั้งเถ้าถ่านและเถ้ากระดูกรวม ๆ กันอยู่ เรียกว่า “อังคาร” แต่ก็สามารถนำอัฐิและอังคารไปลอยทั้งหมดก็ได้
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากญาติไม่ประสงค์จะแบ่งเก็บอัฐิไว้ ก็จะนำอัฐิไปรวมกับอังคารแล้วนำไปลอยอังคารทั้งหมด แต่หากญาติประสงค์จะแบ่งอัฐิเก็บเพื่อไว้ที่บ้าน หรือ ไว้ที่วัด ก็จะนิยมเก็บอัฐิส่วนที่เป็นชิ้นใหญ่เท่าที่เลือกได้ เช่น ฟัน หรือ ถ้าพอทราบว่าเป็นกระดูกส่วนไหนของร่างกายก็จะเลือกเก็บชิ้นส่วนเล็กน้อย 6 แห่ง ได้แก่ กระโหลกศีรษะ 1 , แขน 2, ขา 2 ซี่โครงหน้าอก 1 (ในทางปฏิบัติก็ตามสะดวก) ซึ่งจะนิยมเก็บอัฐิใส่โกฐ หรือ โถเบญจรงค์ สวยงาม ส่วนที่เหลือ นำห่อผ้าขาวบาง และบรรจุใส่ลุ้ง แล้วนำลุ้งห่อผ้าขาวอีกชั้น เพื่อนำไปลอยอังคาร
4. วันห้าม ลอยอังคาร
ในปัจจุบัน สามารถไปลอยอังคารได้ ในวันที่สะดวกไม่ได้มีข้อจำกัด แต่อย่างไรก็ตามสำหรับท่านที่มีความเชื่อมีการดูฤกษ์ยามในการประกอบพิธีลอยอังคาร ก็สามารถเลือกกระทำได้เช่นกัน
5. เรือลอยอังคาร ขึ้นได้กี่คน
เรือลอยอังคารมีหลายขนาดหลายประเภท ขึ้นกับผู้ให้บริการของแต่ละที่ ซึ่งมีเรือลอยอังคารทั้งแบบมีและไม่มีเครื่องปรับอากาศ ซึ่งขนาดเรือสามารถรองรับผู้โดยสารตั้งแต่ 12 ท่าน จนถึง 70 ท่าน โดยเรือที่มีห้องน้ำจะเป็นเรือขนาดใหญ่ที่รองรับผู้โดยสารตั้งแต่ 35 ท่านขึ้นไป
ทั้งนี้ค่าบริการเบื้องต้นก็จะขึ้นกับขนาดของเรือ และระยะทางไปกลับ โดยมีค่าบริการเฉพาะส่วนของเรือจะเริ่มต้นที่หลักร้อย จนถึงหลายหมื่นบาท และนอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นค่าสิ่งของเครื่องใช้ในพิธี และค่าพิธีกร (อนุศาสนาจารย์) รวมถึงเจ้าหน้าที่ประจำเรือในการดำเนินงาน โดยหากต้องการเตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่มไว้ระหว่างการเดินทาง ก็ต้องสำรองค่าใช้จ่ายเพิ่มไว้ด้วย อีกทั้งต้องคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับชนิด และจำนวนดอกไม้ที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ร่วมพิธีลอยอังคารด้วย
6. ไปลอยอังคาร ใช้เวลานานไหม
การไปลอยอังคาร (กทม.-ปริมณฑล) ส่วนมากจะเป็นระยะกลางซึ่งใช้เวลา ไป - กลับ ใช้เวลาประมาณ 45 -90 นาที เช่น ลอยอังคารที่หน้าวัดอรุณใช้ระยะเวลาประมาณ 60 นาที, ลอยอังคารปากอ่าว ใช้ระยะเวลาประมาณ 80 นาที เป็นต้น
7. เรือลอยอังคาร ราคาเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการไปอังคาร จะขึ้นกับ ค่าเรือ ค่าสิ่งของที่ต้องใช้ในพิธี ค่าเจ้าหน้าที่ ค่าอาหารว่าง รวมถึงค่าบริการ หรือ แม้แต่ปัจจัยถวายพระสงฆ์ (ถ้ามี)
8. ลุ้งอังคาร(อัฐิ) ที่จะนำไป ลอยอังคาร
ลุ้ง หรือ ลุ้งดิน สำหรับลอยอังคาร คือภาชนะที่ทำจากดิน เพื่อให้ละลายน้ำได้ โดยมีฝาปิด มีไว้เผื่อนใส่ห่อผ้าที่เก็บอัฐิเพื่อนำไปลอยอังคารยังแม่น้ำ หรือ ทะเล
9. ลุ้งใส่กระดูก(อัฐิ) หรือ ลุ้งใส่อังคาร ขายที่ไหน
ลุ้งลอยอังคาร มีขายทั่วไปตามร้านขายสังฆภัณฑ์ ไม่จำเป็นต้องไปถึงเสาชิงช้า ซึ่งปกติแล้วร้านจะไม่จัดส่งทางขนส่ง เช่น เคอรี่เอ็กเพรส ไปรษณีย์ไทย เนื่องจากอาจเกิดความเสียหาย หรือ แตกหักจากการขนส่ง ดังนั้นลูกค้าต้องไปรับเอง หรือ อาจจะจัดส่งด้วยบริการเดลิเวอรี่
10. พิธีลอยอังคาร นิมนต์พระสงฆ์ด้วยไหม
โดยปกติแล้วเมื่อทำการเก็บอัฐิที่วัด ทางพระสงฆ์จะแประอัฐิและบังสุกุล ก่อนจะนำเถ้ากระดูกหรืออังคารไปลอยยังสถานที่ต่างๆตามวันและเวลาที่เจ้าภาพกำหนด ทั้งนี้ด้วยความสะดวกในปัจจุบันจึงนิยมไปลอยอังคารหลังจากเก็บอัฐิภายในวันเดียวกันนั้นเลย แต่หากจะเก็บไว้แล้วรอไปลอยอังคารในภายหลังก็ได้ ไม่เป็นไร ส่วนจะนิมนต์พระสงฆ์ไปด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นกับเจ้าภาพ ซึ่งจะมีพระสงฆ์หรือไม่มีพระสงฆ์นำพิธีก็ได้ เนื่องจากไม่ใช่แนวทางปฏิบัติของศาสนาพุทธ แต่หากพระสงค์ท่านมีเมตตาก็สามารถนิมนต์ลงไปกับเรือได้ ส่วนจะนิมนต์พระสงฆ์จำนวนกี่รูปนั้นก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาของเจ้าภาพ
11. ลอยอังคาร เพื่ออะไร - จำเป็นต้องนำอัฐิและอังคารไปประกอบ พิธีลอยอังคาร?
พิธีลอยอังคาร ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ญาติจะแสดงความไว้อาลัยแด่ผู้ล่วงลับอัน เชื่อว่าเป็นการส่งดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี แต่การที่ญาติจะตัดสินใจนำอัฐิไปลอยอังคาร (ใส่ลุ้ง) หรือเก็บอัฐิไว้บูชา (ใส่โกฐ หรือ เบญจรงค์) ไม่ว่าจะนำมาไว้ที่บ้าน หรือ ไว้ในกำแพง หรือสถูปที่วัดนั้น ย่อมมีเหตุผลที่แตกต่างกัน ซึ่งก็สามารถกระทำตามความต้องการได้ทั้งหมด ไม่มีผิดหรือถูก โดยทางฟิวเนอรัล แพลน ขอแสดงความเห็นส่วนตัวไว้ดังนี้
การนำอัฐิไว้ที่บ้าน เพื่อเป็นการไหว้ หรือ ทำความเคารพบรรพบุรุษ ควรทำก็ต่อเมื่อมีลูกหลาน ญาติพี่น้องคอยดูแล คอยกราบไหว้ เพราะหากนำมาไว้ที่บ้านและไม่มีคนคอยดูแลสืบไป ย่อมไม่เกิดประโยชน์ อาจเกิดความกลัว ความกังวลในรุ่นถัดๆไป
การนำอัฐิไว้ที่วัด เชื่อว่าวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ให้ฟังธรรม มีโอกาสได้รับบุญเพราะอยู่ในวัด และญาติพี่น้องสามารถมาพบกันที่วัดตามโอกาสสำคัญต่างๆได้สะดวกกว่านำไปไว้ที่บ้านของคนใดคนหนึ่ง ซึ่งหากนำมาไว้ที่วัด แต่ญาติพี่น้องไม่มีการมาไหว้ มาทำบุญ การปล่อยทิ้งไว้ที่วัดตามกำแพง หรือ สถูปต่างๆ ก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
การนำอัฐิไปลอยอังคาร เป็นขนบธรรมเนียม เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นตามความเชื่อในพิธีทางศาสนาฮินดู โดยเชื่อว่าผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์ความเดือดร้อน อยาก์ให้ผู้ตายแม้เกิดในที่ใดๆ ก็ให้อยู่เป็นสุขเหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น และนอกจากนี้หากทางครอบครัวกังวลกับการดูแลอัฐิ เมื่อต้องนำมาไว้ที่บ้าน หรือ ไว้ที่วัด(ในระยะหลังๆมานี้ ทางวัดหลายๆแห่งก็เริ่มจะเกิดปัญหาไม่มีที่เก็บ) ดังนั้นหากทางบ้านไม่มีคนคอยดูแลเอาใจใส่ที่ดี การตัดสินใจนำอัฐิไปลอยอังคาร ก็อาจจะเป็นตัวเลือกในทางปฏิบัติที่เหมาะสม
12. ลอยอังคาร ใส่ชุดสีอะไร
การแต่งกายขอให้เป็นชุดที่สุภาพ สีไม่ฉูดฉาด ไม่มีลวดลายจนเกินไป และไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น หรือ กระโปรงสั้น เพื่อเป็นการรักษามารยาท ใส่ชุดสีอื่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสีขาว หรือ สีดำ
13. ลอยอังคาร ทำตอนไหน กี่โมงดีที่สุด - เวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับประกอบ พิธีลอยอังคาร
ตามปกติแล้วเรือจะพร้อมให้บริการในช่วงเวลา 9.00-17.00 น. ซึ่งทางญาติหรือเจ้าภาพควรทำการจองเวลาล่วงหน้า ในเวลาไหนก็ได้ที่พร้อมและสะดวก แต่เวลาที่คนนิยมจองกันส่วนมากจะอยู่ที่ประมาณ 9.00-11.00 น. เนื่องจากให้เผื่อเวลาเดินทางมายังท่าน้ำหลังจากเก็บอัฐิจากฌาปนสถานในเวลาเช้า (เก็บอัฐิที่วัดตอนเช้าตั้งแต่เวลา 7:00 - 9:00 น) รวมทั้งแสงแดดจะไม่ร้อนมาก แต่หากมีการทำบุญในช่วงเช้า ก็สามารถไปลอยอังคารในช่วงบ่ายได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ดี หากนิมนต์พระสงฆ์ไปด้วย ก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการเดินทาง และไม่ติดเวลาพระสงฆ์ฉันเพลด้วย
14. ขั้นตอน การลอยอังคาร แบบดั้งเดิม เป็นอย่างไร
หลังจากผ่านขั้นตอนฌาปนกิจเรียบร้อยแล้ว ในวันรุ่งขึ้น เมื่อญาติได้ไปทำการเก็บอัฐิ เถ้ากระดูกซึ่งญาติก็จะตกลงกันว่า จะทำการเก็บอัฐิไว้ หรือว่าจะทำการนำไปทำพิธีลอยอังคาร หากเก็บไว้ก็จะใส่โกศ หรือโถเบญจรงค์ หากนำไปทำพิธีลอยอังคาร ก็จะห่อผ้าขาวแล้วบรรจุในอุปกรณ์ ที่เรียกว่า ลุ้ง นอกจาที่ญาติต้องจัดเตรียมลุ้งมาแล้ว ควรนำภาพถ่ายของผู้วายชนน์มาถึงยังสถานที่ลอยอังคาร ตามเวลานัดหมาย ซึ่งควรจะมาถึงก่อนเวลาราว ๆ 30 นาทีเพื่อจะได้เตรียมความพร้อมและนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ของเรือทราบซึ่งเจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมเรือและอุปกรณ์ในการลอยอังคารไว้ให้ โดยขั้นตอนและวิธีการลอยอังคารบนเรือ"แบบดั้งเดิม"จะมีดังนี้ 1. บูชาแม่ย่านางเรือ: เมื่อคณะญาติ นำเถ้ากระดูกของผู้ล่วงลับมาถึงเรือ ซึ่งได้มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้นำพิธี ได้เชิญ ให้ญาติ อาวุโส หรือบุตรคนโต ของผู้ล่วงลับ 1 ท่านไปทำพิธี โดยนำดอกไม้สดและธูปเทียนที่ใส่รวมไว้ในพานจุดบูชาแม่ย่านางที่หัวเรือ เพื่อกล่าวบูชาและขออนุญาตแม่ย่านางเรือ โดยผู้นำพิธีได้กล่าวนำ หลังจากนั้นจึงทำการล่องเรือออกไปยังกลางแม่น้ำ หรือทะเลจุดที่ทำพิธีการลอยอังคาร เครื่องใช้ในการบูชาแม่ย่านางเรือ ประกอบด้วย :
ดอกไม้สด 1 กำหรือพวงมาลัย 1 พวง
ธูป 7 ดอก เทียนหนัก 1 บาท
พานเล็ก 1 ใบสำหรับใส่ดอกไม้ ธูปเทียน ขณะทำการไหว้แม่ย่านางเรือ
เชือก 1 เส้นสำหรับผูกดอกไม้ ธุปเทียนไว้ที่หัวเรือ
เมื่อถึงเวลาก่อนเรือออกจากฝั่ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้นำพิธีดังนี้
ทำการจุดธูปเทียน และเชิญ บุตรคนโตของครอบครัวเป็นผู้นำไหว้แม่ย่านางเรือ กล่าวตามผู้นำพิธี
ผู้นำพิธีได้กล่าวไหว้แม่ย่านางเรือ
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะมัตถุ นาวานิวาสินิยา เทวะตายะอิมินา สักกาเรนะ นาวานิวา สินิง ธะวะตัง ปูเชมิ ข้าพเจ้าขอน้อมไหว้บูชา แม่ย่านางเรือผู้คุ้มครองรักษาเรือลำนี้ ด้วยข้าพเจ้าพร้อมด้วยญาติมิตร จะขออนุญาตนำอัฐิและอังคารของ…(กล่าวชื่อผู้วายชนน์)ลงเรือลำนี้ เพื่อไปประกอบพิธีลอยอัฐิและอังคารยังปากอ่าว ขอแม่ย่านางเรือได้โปรดอนุญาตและคุ้มครองรักษา ให้การเดินทางทั้งไปและกลับสะดวกและปลอดภัยด้วยเทอญ...สาธุ หลังจากนั้นผู้นำพิธีนำดอกไม้ ธูปเทียน จากพาน ไปผูกไว้ยังหัวเรือ เมื่อเรือออกจากฝั่งเรียบร้อยแล้ว ค่อยดำเนินขั้นตอนต่อไป
2. การไหว้อังคารบนเรือก่อนที่จะทำพิธีการลอยน้ำ: เมื่อเรือลอยมาถึงจะที่จะทำพิธีการลอยอังคารอังคารแล้ว จะหยุดเรือลอยลำให้นิ่งเสียก่อน ตรงจุดที่เป็นสะดือที่ลึกที่สุด หลังจากนั้นผู้นำพิธี ก็จะเปิด ลุ้ง / หรือภาชนะที่ใส่อังคาร เชิญ ลูกๆ เท่านั้น หรือ หากเป็น หลาน หรือญาติสนิท ต้องเป็นบุคคลที่ผู้ล่วงลับดูแล หรือเคยดูแลผู้ล่วงลับ จุดธูปเทียนไหว้อังคารและสรงด้วยน้ำอบไทย โรยดอกมะลิ กลีบกุหลาบ ดาวเรือง และดอกไม้อื่นๆ เมื่อทุกคนไหว้อังคารเสร็จแล้ว ผู้ทำพิธีจะห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาวที่มีขนาดความ กว้าง-ยาวประมาณ ½ เมตร รวบด้วยสายสิญจน์ทำเป็นจุกข้างบนและสอดพวงมาลัยเข้าไป ผู้นำพิธีแจกดอกกุหลาบให้กับคณะญาติมิตรคนละ 1 ดอก
3. การบูชาเจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดร: ผู้นำพิธีจัดเครื่องบูชาเจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดรให้แก่ลูก หลาน อันประกอบด้วย
กระทงดอกไม้ 7 สี 1 กระทง
ธูป 7 ดอก เทียน 1 บาท 1 เล่ม
พานโตก (ขนาดกลาง) วางกระทงดอกไม้ 7 สี 1 ใบ ใช้สำหรับไหว้อังคารบนเรือ
ลุ้งใส่อัฐิ และผ้าขาวที่ห่อลุ้งมาจากวัดตอนเก็บอัฐิ (โดยลุ้งจะเป็นภาชนะดินสีทองบรรจุอัฐิ)
พานทงราบ สำหรับภาชนะตั้งลุ้ง 1 ใบ
พวงมาลัยดาวเรือง 1 พวง วางบนพานขนาดเล็ก
ดอกกุหลาบวางบนพานขนาดกลาง สำหรับโปรยลงแม่น้ำ ตามจำนวน ผู้ลงเรือ
กลีบมะลิ กุหลาบ ดาวเรือง ดอกรัก ใส่พานโตกขนาด ใหญ่ 1 พาน และขนาดกลาง 2 พาน
น้ำอบ 1 ขวด
เชือกคล้องรูปผู้วายชนน์กับ เสาเพื่อทำพิธี
เงินเหรียญ 7 บาท
พานเล็ก 1 ใบสำหรับใส่เงินเหรียญ 7 บาท
การเรียงลำดับวางสิ่งของสำหรับบูชาพระแม่นที - ท้าวสีทันดร (กลางเรือจะมีแท่นสำหรับทำพิธี)
วางรูปผู้วายชนน์ผูกแนบติดกับเสา โดยหันหน้าไปทางหัวเรือ
แถวที่ 1 นับจากรูปผู้วายชนน์ ให้วางพานกลีบ กุหลาบ ดาวเรือง ดอกรับ พานโตกขนาดใหญ่ พานโตก กระทง 7 สี
แถวที่ 2 นับจากรูป ให้วางพานโตกขนาดกลาง กลีบกุหลาบ ดาวเรือง ดอกรัก ตามด้วยลุ้ง และพานโตกขนาดกลางกลีบกุหลาบ ดาวเรือง ดอกรัก
แถวที่ 3 นับจากรูป ให้วางพานโตกดอกกุหลาบ ตามด้วยพานเงินเหรียญ 7 บาท และ พานพวงมาลัยดาวเรือง โดยมีน้ำอบอยู่บนพานดาวเรือง
หลังจากนั้น ผู้นำพิธีจึงจุดเทียน 1 เล่ม และธูป 7 ดอกที่กระทงดอกไม้ 7 สี แล้วจึงกล่าวบูชาและฝากอังคารกับเจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดร ดังนี้ กล่าวนะโม 3 จบ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธ ธัสสะ
นะมัตถุ อินิสสัง มหานะทิยัง อะทิวาถานัง สุรักขันตานัง สัพพะเทวานัง อิมินา สักกาเรนะ สัพพะเทเว ปูเชมะ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมไหว้บูชา เจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดร และเทพยาดาทั้งหลาย ผู้สถิตคุ้มครอง รักษาอยู่ ในทะเลนี้ ด้วยเครื่องสักการะนี้ ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลาย จะได้ประกอบกุศลจิต อุทิศส่วนบุญแก่…(เอ่ยชื่อผู้วายชนน์) ผู้วายชนน์และ ณ บัดนี้ จะได้ประกอบพิธีลอยอัฐิและอังคารของ…(เอ่ยชื่อผู้วายชนน์) จึงขอฝากไว้ในความอภิบาลของเข้าแม่นที - ท้าวสีทันดร แม่ย่านางเรือและเทพยดาทั้งหลาย โปรดอนุโมทนาให้ดวงวิญญาของ…(เอ่ยชื่อผู้วายชนน์) จงเข้าสุขคติในสัมปรัยภพ ประสบสุขในทิพยวิมานชั่วนิจนิรันดร์กาลเทอญ
บทกล่าวนำซื้อที่ให้ผู้วายชนม์: ข้าพเจ้าขอตั้งจิต ขอเช่าซื้อที่ทั่วเจ็ดคาบมหาสมุทรข้าแต่ท่านผู้เจริญ ของอัญเชิญเทพยดาในมหาชลนทีโปรดฟังวจีของตัวข้า ท่านจงเมตตา อนุญาต อุทกสถานสถิตแห่ง อัฐิและอังคาร ของ…(เอ่ยชื่อผู้วายชนน์) ในพื้นมหาสุมทร มณฑลแห่งนี้ด้วยเทอญ…
หลังจากนี้ ครอบครัว ญาติ ตั้งจิตอฐิษฐาน เงินของข้า ได้มาโดยบริสุทธิ์ขอบูชาพระพุทธ บูชาพระธรรม บูชาพระสงฆ์ ด้วยจิตจำนงค์ต่อองค์พระนิพพาน ขอให้ถึงเมืองแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้พบพระศรีอารย์ ในอนาคตกาลโน้นเทอญ ขอตั้งจิตอุทิศผล บุญกุศลแผ่ไปในไพศาล ถึงบิดาและอาจารย์ ทั้งลูกหลาน ญาติมิตรสนิทกัน คนที่ร่วมงานการทั้งหลาย มีส่วนได้ในกุศลผลของฉัน ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและเทวัญ ขอให้ท่านได้กุศลผลบุญนี้เทอญ
4. พิธีลอยอังคาร: หลังจากผู้นำพิธีกล่าวบูชา กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดรเสร็จแล้ว ผู้นำพิธีจึงเชิญทุกคนยืนไว้อาลัยประมาณ 1 นาที แล้วผู้นำพิธีทำการโยนเหรียญ(ตามสมควร) ลงทะเล/แม่น้ำ เพื่อซื้อที่ตามธรรมเนียมแล้ว ให้ญาติต้องลอยอัฐิและอังคารทางด้านกาบซ้ายของเรือเท่านั้น และให้พี่คนโตของครอบครัวเป็นผู้นำในการดำเนินการทุกอย่าง ขั้นตอนสำหรับญาติในการลอยอังคาร ให้ทำดังนี้
ให้บุคคลที่ได้รับความเคารพที่สุดของครอบครัว หรือพี่คนโตไปยังกาบซ้ายของเรือ เพื่อนำเงินเหรียญไปโปรยลงยังแม่น้ำ
พี่คนโตและทุกคนในครอบครัวช่วยกันจับกระทง 7 สี และพวงมาลัย โดยใช้มือประคองกระทงค่อยๆ วางบนผิวน้ำหลังจากนั้นค่อยนำ ลุ้ง วางลงบนผิวน้ำโดยให้ญาติทุกคนถือสายสิญจน์ไปด้วย
ทุกคนโปรยดอกกุหลาบ และกลีบกุหลาบ ดาวเรือง ดอกรัก ตามลงไปจนหมด
เรือจะขับวน 3 รอบตรงบริเวณที่ลอยอังคาร
หากกาบเรือสูงจากผิวน้ำเกินไป และไม่มีบันไดลงเรือ ให้ใช้สายสิญจน์ทำเป็นสาแหรก 4 สาย จำนวนสาแหรก คือใส่กระทงดอกไม้ 7 สี 1 สาแหรก และใส่ห่อลุ้งอังคาร 1 สาแหรก ค่อยๆ หย่อนลงไปบนผิวน้ำ (ขั้นตอนนี้สำคัญคือห้ามโยนลงไปเด็ดขาด) ให้ค่อยๆหย่อนลงไป เมื่อหย่อนห่อลุ้งอังคารลงสู่ผิวน้ำแล้วให้โรยกลีบกุหลาบ ธูปเทียนตามลงไป รวมไปถึงสิ่งของที่เหลือจากการไหว้บูชา ทั้งหมดให้โรยตามลงไปด้วย หลังจากนั้นก็ให้วนเรือซ้ายทั้งหมด 3 รอบ เสร็จพิธี
Opmerkingen