top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนFuneral Plans

ตัวอย่างจดหมาย ขอพระราชทานเพลิงศพ ข้อมูลโดย มหาวิทยาลัยมหิดล

อัปเดตเมื่อ 4 ก.พ. 2564



ขั้นตอนการขอพระราชทาน


๑. การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ

เจ้าภาพหรือทายาท จะต้องจัดดอกไม้กระทง ๑ กระทง ธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม

มีพานรองพร้อม ไปกราบถวายบังคมทูลลา โดยติดต่อที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง(โทร. ๐-๒๒๒๑-๐๘๔๓ ๐-๒๒๒-๒๗๓๕) พร้อมทั้งนำใบมรณบัตร และหลักฐานที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ(พร้อมสำเนาอย่างละ ๑ ชุด)

ไปแสดงแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อการจัดเตรียมเครื่องเกียรติยศประกอบศพได้ถูกต้อง

ส่วนพระสงฆ์สมณศักดิ์ ไม่ต้องมีดอกไม้ธูปเทียน เป็นหน้าที่ของกรมศาสนาแจ้งการมรณภาพ และขอพระราชทาน



ตัวอย่างหนังสือกราบบังคมทูลลา

 

วันที่..............เดือน................................พ.ศ..............


ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม


ดอกไม้ธูปเทียนของข้าพระพุทธเจ้า...............(ชื่อผู้ถึงแก่กรรม)...................................

เครื่องราชอิสริยาภรณ์........................................................อายุ...................ปี ข้าราชการ ................

ชั้น....................................................สังกัด..................................................

ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลา(ถึงแก่กรรม,ถึงแก่อนิจกรรม,ถึงแก่อสัญกรรม)

ด้วยโรค.........................................................ที่.................................อำเภอ......................................

จังหวัด...........................................เมื่อวันที่..............เดือน................................พ.ศ........................

เวลา............................น.


ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม




หมายเหตุ หนังสือกราบบังคมทูลลานี้ ไม่ต้องลงนามท้ายหนังสือ



๒. การขอพระราชทานเพลิงศพ

๒.๑ การขอพระราชทานเพลิงศพ

เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม เพื่อให้เจ้าสังกัดทำเรื่องเสนอเลขาธิการพระราชวัง โดยระบุ

ก. ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ถึงแก่กรรม

ข. ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด

ค. ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อะไรบ้าง

ง. มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างใดบ้าง

จ. ประกอบการฌาปนกิจศพที่วัดไหน จังหวัดไหน วันเวลาใด


กรณีเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เจ้าภาพหรือทายาททำหนังสือแจ้งหน่วยงานต้นสังกัด(คณะ/สถาบัน/ศูนย์/สำนัก/วิทยาลัย/กอง) และให้หน่วยงานทำหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัย พร้อมหนังสือเสนอเลขาธิการพระราชวัง(จัดพิมพ์และแนบพร้อมหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัย / ฉบับจริง ๑ สำเนา ๒ ชุด)


การขอพระราชทานเพลิงศพ:ตัวอย่างหนังสือจากหน่วยงาน

 

คณะ.......................................

มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ ศธ ๐๕๑๗.0000/

วันที่……………………….

เรื่อง…ขอพระราชทานเพลิงศพ.


เรียน อธิการบดี


ด้วย.....................................................................(ระบุ ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์)) ข้าราชการพลเรือน ในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่ง..........................................................คณะ............................................... . ได้ถึงแก่กรรมด้วยสาเหตุ...............................................ณ .............................เมื่อวันที่.....................................

เจ้าภาพมีความประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่................................เวลา......................น. ณ เมรุวัด.................................อำเภอ.................................จังหวัด...................................ซึ่งคณะ/สถาบันพิจารณาเห็นว่า นาย/นาง/นางสาว/ .....................................................เป็นผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิงหลวง และเป็นผู้อุทิศตนเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ สมควรขอพระราชทานเพลิงศพเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้วายชนม์และวงศ์ตระกูลสืบไป


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง



(ลงนาม)

(...........................................)

คณบดี/ผู้อำนวยการ คณะ/สถาบัน



การขอพระราชทานเพลิงศพ:ตัวอย่างหนังสือเสนอสำนักพระราชวัง

 

มหาวิทยาลัยมหิดล

๙๙๙ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔

ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล

จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

ที่ ศธ ๐๕๑๗/

วันที่....................................

เรื่อง ขอพระราชทานเพลิงศพ


เรียน เลขาธิการพระราชวัง

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนาใบมรณบัตร จำนวน ๑ ฉบับ

๒. สำเนาทะเบียนบ้าน(ผู้ถึงแก่กรรม) จำนวน ๑ ฉบับ

๓. สำเนาบัตรข้าราชการ(ผู้ถึงแก่กรรม) จำนวน ๑ ฉบับ


ด้วย............................................................(ระบุชั้น เครื่องราชฯ) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่ง.......................................ระดับ.................คณะ/สถาบัน...........................

ได้ถึงแก่กรรมด้วยสาเหตุ...............................................ที่..................................เมื่อวันที่......................

และทางเจ้าภาพมีความประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และวงศ์ตระกูล ในวัน...........ที่..............เดือน...........................พ.ศ.........................เวลา...................น. ณ เมรุวัด.......................................อำเภอ/เขต.....................................จังหวัด.................................

มหาวิทยาลัยมหิดลพิจารณาแล้วเห็นว่า.........................................................เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริตและประกอบคุณงามความดีเสมอมา และอุทิศตนให้แก่วิชาชีพอย่างเต็มที่ สมควรขอพระราชทานเพลิงศพ.......................................................เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และวงศ์ตระกูลสืบไป


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง


ขอแสดงความนับถือ



กองบริหารงานทั่วไป

โทร. ๐-๒๘๔๙-๖๐๑๑ , ๐-๒๓๕๔-๐๙๙๙

โทรสาร ๐-๒๘๔๙-๖๐๐๙



๒.๒ การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

เจ้าภาพหรือทายาท ผู้ประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ต้องทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง โดยระบุ

ก. ชื่อ-สกุล และประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม

ข. ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด

ค. ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

ง. ระบุ วัน เวลา สถานที่ที่จะประกอบการฌาปนกิจศพ


กรณีผู้ถึงแก่กรรม เป็นบิดาหรือมารดา ของข้าราชการ(ตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๗ หรือ ข้อ ๘ ) สังกัดหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เจ้าภาพหรือทายาททำหนังสือแจ้งหน่วยงานต้นสังกัด(คณะ/สถาบัน/ศูนย์/สำนัก /วิทยาลัย/กอง) และให้หน่วยงานทำหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัย พร้อมหนังสือเสนอเลขาธิการพระราชวัง(จัดพิมพ์และแนบพร้อมหนังสือแจ้งมหาวิทยาลัย / ฉบับจริง ๑ สำเนา ๒ ชุด)

หรือ ทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวังโดยตรง ก็ได้


การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ:ตัวอย่างหนังสือจากหน่วยงาน

 

คณะ.......................................

มหาวิทยาลัยมหิดล

ที่ ศธ ๐๕๑๗/

วันที่................................................

เรื่อง ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ


เรียน อธิการบดี


ด้วย....................................................................(ระบุ ชั้นเครื่องราชฯ) ข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา ตำแหน่ง............................................ระดับ...................คณะ............................................... ............. แจ้งว่า นาย/นาง...............................................................ผู้เป็น บิดา/มารดา ได้ถึงแก่กรรมด้วยสาเหตุ...................................... ที่................................................เมื่อวันที่.....................................

เจ้าภาพมีความประสงค์จะขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ในวันที่..........................................เวลา......................น. ณ เมรุวัด.................................อำเภอ.................................จังหวัด...................................ซึ่งคณะ/สถาบัน พิจารณาเห็นว่า บิดา/มารดา ของ นาย/นาง/นางสาว/ ...........................................................เป็นผู้สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง



(ลงนาม)

(...........................................)

คณบดี/ผู้อำนวยการ คณะ/สถาบัน


การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ:ตัวอย่างหนังสือเสนอสำนักพระราชวัง

 

มหาวิทยาลัยมหิดล

๙๙๙ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔

ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล

จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐

โทร. ๐-๒๘๔๙-๖๐๑๐

โทรสาร ๐-๒๘๔๙-๖๐๐๙


ที่ ศธ ๐๕๑๗/

วันที่..................................................

รื่อง ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

เรียน เลขาธิการพระราชวัง

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนาใบมรณบัตร จำนวน ๑ ฉบับ

๒. สำเนาทะเบียนบ้าน(ผู้ถึงแก่กรรม/ทายาท) จำนวน ๒ ฉบับ

๓. สำเนาบัตรประจำตัว(ผู้ถึงแก่กรรม) จำนวน ๑ ฉบับ

๔. สำเนาบัตรข้าราชการ(ทายาท) จำนวน ๑ ฉบับ


ด้วย............................................................(ระบุ ชั้นเครื่องราชฯ) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่ง.......................................ระดับ.................คณะ/สถาบัน...........................

แจ้งว่า นาย/นาง....................................................ผู้เป็นบิดา/มารดา ได้ถึงแก่กรรมด้วยสาเหตุ.............

ที่..................................เมื่อวันที่............................................เจ้าภาพซึ่งเป็นบุตร/บุตรี มีความประสงค์

จะขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นเกียรติ แก่นาย/นาง................................................ ผู้เป็นบิดา/มารดา และวงศ์ตระกูล ในวัน...........ที่..............เดือน.................................พ.ศ...................เวลา.............น. ณ เมรุวัด.......................................อำเภอ/เขต......................จังหวัด.......................

มหาวิทยาลัยมหิดลพิจารณาแล้วเห็นว่า..........................................................เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริตและประกอบคุณงามความดีเสมอมา ตลอดจนเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ต่อบิดามารดา สมควรขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ นาย/นาง .............................................. เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และวงศ์ตระกูลสืบไป


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง


ขอแสดงความนับถือ




การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ: (กรณีทายาทเสนอเองโดยตรง)


ที่อยู่...................................................

...................................................


วันที่..................................................


เรื่อง ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ

เรียน เลขาธิการพระราชวัง

สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. สำเนาใบมรณบัตร จำนวน ๑ ฉบับ

๒. สำเนาทะเบียนบ้าน(ผู้ขอหรือทายาท) จำนวน ๑ ฉบับ

๓. สำเนาบัตรประจำตัว(ผู้ขอหรือทายาท) จำนวน ๑ ฉบับ


ด้วยข้าพเจ้า............................................................ ตำแหน่ง............................................สังกัด...........................................................จะทำการฌาปนกิจศพ........................................................

ผู้เป็นบิดา/มารดา ซึ่งถึงแก่กรรมด้วยโรค...........................................ณ...............................................

เมื่อวันที่..............เดือน..............................พ.ศ.......................ณ เมรุวัด................................................ในวัน....................เดือน....................................พ.ศ........................เวลา.....................น.

ขณะที่..........................................................................ผู้เป็นบิดา/มารดา ยังมีชีวิตอยู่ ได้ประกอบคุณงามความดีอย่างมาก ได้อบรมสั่งสอนบุตร-ธิดา ให้รู้จักรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เสมอมา ทั้งยังได้ให้การศึกษาแก่บุตร-ธิดาเป็นอย่างดี จนได้รับราชการเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและราชการเป็นอย่างมาก

บุตร-ธิดา มีความอาลัยรัก กตัญญู และสำนึกในหน้าที่ที่มีต่อผู้บังเกิดเกล้า จึงกราบเรียนมาเพื่อขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นเกียรติแก่.................................................ผู้เป็นบิดา/มารดา และวงศ์ตระกูลสืบไป

ขอได้โปรดนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท การจะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ


ขอแสดงความนับถือ



โทร. ..........................................

โทรสาร ..................................


หมายเหตุ ต้องนำเอกสารต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย

บัตรประจำตัวหมายถึง บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ


๒.๓ การติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ

การพระราชทานเพลิงศพนั้น จะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ พระราชพิธีฉัตรมงคล (และตามประเพณีนิยม ไม่มีการเผาศพในวันศุกร์)

การพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส หากมีพระราชประสงค์ที่จะทรงกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพตรงกับวันที่มีผู้ขอรายใดกำหนดไว้แล้ว เจ้าภาพผู้ขอนั้นจะต้องเลื่อนไปโดยไม่มีข้อแม้ทั้งสิ้น


๒.๔ การพระราชทานเพลิงศพในต่างจังหวัด/ในกรุงเทพมหานคร /เครื่องประกอบเกียรติยศ

ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิง ถ้าพระราชทานเพลิงศพในต่างจังหวัด ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้เจ้าสังกัดหรือเจ้าภาพรับไปปฏิบัติ

กรณีพระราชทานเพลิงในกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ในระยะทางไม่เกิน ๕๐ กม. สำนักพระราชวังจะจัดเจ้าพนักงานเชิญเพลิงหลวงไปพระราชทาน โดยรถยนต์หลวง ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

สำหรับเครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตรตั้ง นั้น ทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบและแต่งตั้งไว้มีกำหนด ๗ วัน เมื่อพ้นไปแล้ว เจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทาน เพลิง ถ้าทางราชการมีความจำเป็น ก็จะถอนส่วนประกอบลองนอกของหีบ โกศ ไปใช้ในราชการต่อไป


กรณีข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ ระดับ ๓ ขึ้นไป หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก/มงกุฎไทย/เบญจมดิเรกคุณาภรณ์

เครื่องเกียรติยศที่ได้รับพระราชทาน เมื่อสิ้นชีวิต น้ำหลวง,หีบเชิงชาย

เครื่องเกียรติยศที่ได้รับพระราชทาน เมื่อพระราชทานเพลิง เพลิงหลวง


๒.๕ ข้อแนะนำการปฏิบัติเกี่ยวกับการพระราชทานหีบเพลิง ไปพระราชทานเพลิงศพยังต่างจังหวัด

(ระยะทางห่างจากสำนักพระราชวังเกิน ๕๐ กิโลเมตร)


ตามระเบียบที่สำนักพระราชวังได้วางไว้ เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพ แล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานเพลิงศพ หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานเพลิง สำนักพระราชวังจะได้มีหมายรับสั่งแจ้งให้เจ้าภาพเพื่อทราบจากนั้น เจ้าภาพหรือเจ้าหน้าที่ของจังหวัดแล้ว แต่กรณี ไปขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ได้ที่ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อได้รับหีบเพลิงพระราชทานไปแล้ว ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

๑. เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปวางไว้ที่ศาลากลางจังหวัด อำเภอ หน่วยราชการที่สังกัดในท้องที่ หรือที่บ้านเจ้าภาพแล้วแต่กรณี โดยตั้งไว้ที่อันสมควร และมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้น ด้วย

๒. เมื่อถึงกำหนดวันที่ขอพระราชทานเพลิงศพ ทางจังหวัด อำเภอหรือเจ้าภาพแล้วแต่กรณี จะต้องจัดบุคคลที่รับราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบเพลพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง(หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญขึ้นไปตั้งบนเมรุนั้น ควรยกศพขึ้นตั้งเมรุเรียบร้อยเสียก่อน แล้วจึงเชิญพานหีบเพลิงพระราชทาน ขึ้นไปตั้งไว้บนโต๊ะทางด้านศีรษะศพ (บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงพระราชทานนั้น จะต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อยและห้ามมิให้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานวางเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้เชิญคำนับเคารพศพหนึ่งครั้ง แล้วจึงลงจากเมรุ

๓. ขณะที่เชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น ผู้เชิญจะต้องระมัดระวังกิริยาโดยอยู่ในอาการสำรวม ไม่พูดคุยกับผู้ใด ไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และไม่เชิญหีบเพลิงพระราชทานตามหลังผู้ใดเป็นอันขาด

๔. ระหว่างที่การเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น ไม่ต้องทำความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการ ผู้เชิญมิใช่ผู้แทนพระองค์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

๕. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับการเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปสู่เมรุ ควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่งกายควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์

ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทั้งประชาชนและข้าราชการ รวมทั้งพนักงาน ลูกจ้าง รัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ส่วนบุตรหลาน หรือญาติ รวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ที่รับราชการ จะแต่งเครื่องแบบปกติขาวไว้ทุกข์ก็จะเป็นเกียรติแก่ผู้วายชนม์และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ

๖. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิงศพ ให้เจ้าภาพเชิญแขกผู้มีอาวุโสสูงสุดในที่นั้น

ขึ้นเป็นประธานประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ(ผู้มีอาวุโสนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งด้านคุณวุฒิและด้านวัยวุฒิ ทั้งนี้ หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป หรือราชสกุลที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งผู้วายชนม์หรือทายาทอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นผู้ที่เคารพนับถือ สมควรเชิญบุคคลนั้น เป็นประธาน)

๗. ในระยะเวลาก่อนเจ้าภาพเชิญผู้มีอาวุโสสูงสุดขึ้นเป็นประธานประกอบพิธี พระราช

ทานเพลิงนั้น ให้ผู้ที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานขึ้นไปรออยู่ ณ โต๊ะวางหีบเพลิงพระราชทานบนเมรุก่อน เมื่อผู้เป็นประธานทอดผ้าไตรบังสุกุล และพระภิกษุได้ชักผ้าบังสุกุลแล้ว ให้ผู้เชิญหีบเพลิงพระราชทานแก้ห่อหีบเพลิงพระราชทานออก

จากนั้น ผู้เป็นประธานปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

- เปิดฝาหีบเพลิงพระราชทาน

- หยิบเทียนชนวนในหีบเพลิงพระราชทานมอบให้ผู้ที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานถือไว้

- หยิบกลักไม้ขีดในหีบเพลิงพระราชทานจุดไฟต่อเทียนชนวน ที่ผู้ที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานถือไว้ รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว

- ถวายบังคม(ไหว้) หนึ่งครั้ง ก่อนหยิบธูป ดอกไม้จันทน์ และเทียนพระราชทาน(จำนวน ๑ ชุด) ในหีบเพลิงพระราชทาน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวนแล้ววางไว้ใต้กลางฐานที่ตั้งศพ จากนั้นก้าวเท้าถอยหลังหนึ่งก้าว คำนับเคารพศพหนึ่งครั้งแล้วลงจากเมรุ เป็นอันเสร็จพิธี

หมายเหตุ ๑. สำหรับศพที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานผ้าไตรทอดถวายพระบังสุกุล

ด้วยนั้น ผู้เป็นประธานต้องถวายความเคารพ(ไหว้)หนึ่งครั้ง ก่อนหยิบผ้าจากเจ้า

หน้าที่ผู้เชิญ แล้วทอดผ้าตามพิธีต่อไป

๒. ในกรณีที่เจ้าภาพประสงค์ให้มีการอ่าน หมายรับสั่ง เพื่อแสดงถึงการได้รับ

พระราชทานเพลิงศพ ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณและคำสำนึกใน

พระมหากรุณาธิคุณ ในงานพระราชทานเพลิงศพนั้น ให้อ่านเรียงลำดับตามที่

กล่าวมา ทั้งนี้ หากจะอ่านเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่อ่านเลยก็ได้ ขึ้นอยู่

กับความประสงค์และความสะดวกของเจ้าภาพเป็นสำคัญ ส่วนการลงท้ายคำ

อ่าน สามารถอ่านชื่อบุคคลผู้เป็นทายาททั้งหมดหรือจะออกชื่อแต่เจ้าภาพก็ย่อม

กระทำได้

๓. ทางสำนักพระราชวังได้ออกคำสั่ง ห้ามเจ้าหน้าที่ของสำนักพระราชวัง

เชิญหีบเพลิงไปปฏิบัติ



ดู 773 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page