top of page
ค้นหา

พิธีทอดผ้าบังสุกุล ในงานฌาปนกิจ คืออะไร

อัปเดตเมื่อ 4 ก.พ. 2564

ความหมายของ บังสุกุล อ้างอิงจาก wikipedia

ก่อนอื่นคำว่าบังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล


คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์



การทอดผ้าบังสุกุล เป็นการทำบุญอุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ โดยทอดวางผ้าไตรจีวร หรือผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ เพื่อให้ท่านพิจารณานำไปใช้ ซึ่งในงานฌาปนกิจ จะมีการใช้ภูษาโยงหรือด้ายสายโยง (สายสิญจน์) โยงจากโลงศพ หรือภาพผู้ล่วงลับ มายังพระ แล้วทอดผ้าให้ท่านพิจารณาเปรียบเสมือนสมัยพุทธกาลที่ชาวบ้านทิ้งผ้าไว้ตามป่าช้า เป็นผ้าที่เขาแขวนไว้บ้าง หรือเป็นผ้าของคนที่เสียชีวิตแล้วบ้าง บทสวดมนต์ที่นำมาสวดพิจารณาผ้าบังสุกุล จึงเกี่ยวกับความไม่เที่ยงของสังขาร

(อะนิจจา วะตะ สังขารา)


ลำดับพิธีงานฌาปนกิจ โดย buddhabuddha

ก่อนที่จะเริ่มพิธีฌาปนกิจ โดยปกติแล้วทางเจ้าภาพ ญาติพี่น้อง และเพื่อน ของผู้ล่วงลับก็จะมีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลเป็นครั้งสุดท้าย โดยนิมนต์พระสงฆ์ (จำนวนตามที่เจ้าภาพต้องการ เช่น 10 รูป)

  • ถวายภัตตาหารเพล

  • การแสดงพระธรรมเทศนา (ถ้ามี) ภายหลังเสร็จสิ้นจากถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์แล้ว อาจจะมีการแสดงพระทธรรมเทศนา และต่อด้วยพระสงฆ์สวดมาติกาและทอดผ้าบังสุกุล จบลงที่เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร

  • พิธีฌาปนกิจ

ขั้นตอนที่ 1

พิธีกรงานฌาปนกิจ เตรียมรายชื่อของแขกผู้มีเกียรติขึ้นทอดผ้าบังสุกุล  


  • การทอดผ้าบังสุกุลนั้น เจ้าภาพจะต้องพิจารณาว่า แขกผู้มีเกียรติชั้นผู้ใหญ่ที่เชิญไว้ มีจำนวนเท่าใดก็จัดผ้าไตรเท่ากับจำนวนแขกชั้นผู้ใหญ่ ส่วนจำนวนมากน้อยเท่าใดนั้นควรให้เป็นไปตามความเหมาะสม

  • การเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพจะต้องไปเชิญด้วยตนเอง โดยมีผู้ถือพานผ้าไตรตามเจ้าภาพไปด้วย แต่ถ้าแขกที่เป็นประธานเป็นผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือเป็นผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของเจ้าภาพ ก็ควรถือพานผ้าไตรไปเชิญด้วยตนเอง

  • เมื่อแขกผู้รับเชิญลุกจากที่นั่ง เจ้าภาพหรือผู้ถือพานผ้าไตรก็เดินตามแขกผู้นั้นไป

  • เมื่อขึ้นบันไดเมรุแล้วก็ส่งมอบผ้าไตรให้ ผู้ทอดผ้าก็จะรับผ้าไตรนำไปวางลงตรงที่สำหรับทอดผ้า แต่ถ้าไม่มีการจัดที่สำหรับทอดผ้าไว้ ก็วางผ้าไตรนั้นลงบนหีบศพทางด้านหัวนอนศพ แล้วผู้ทอดผ้าก็คอยอยู่จนกว่าพระสงฆ์จะมาชักผ้าบังสุกุล

  • ลำดับการเชิญแขกขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนั้น จะเชิญแขกผู้มีอาวุโสน้อยไปหามากตามลำดับ และเชิญประธานในพิธีขึ้นทอดผ้าบังสุกุลเป็นอันดับสุดท้าย

  • เมื่อประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุลแล้ว ก็เชิญท่านประกอบพิธีประชุมเพลิงต่อไป

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ / คณะเจ้าภาพขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน / ที่เดินทางมาร่วมเป็นเกียรติในพิธีฌาปนกิจศพของ ...................(ชื่อ-สกุล) ............................

และรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งที่จะเรียนเชิญ / ท่านที่มีรายนามดังต่อไปนี้ / จำนวน .........ท่าน

เป็นผู้ขึ้นทอดผ้าบังสุกุลนะครับ (อ่านรายชื่อจนครบตามจำนวน)


๑.........( ชื่อ – สกุล ) ................................................................................

ตำแหน่ง ..................................................................................................

๑. กราบนิมนต์พระคุณเจ้า ...........(ชื่อ – ฉายา) ..........วัด ..........................

เป็นองค์พิจารณาผ้าบังสุกุล / ขอกราบนิมนต์ครับ


ขั้นตอนที่ 2

พิธีกรงานฌาปนกิจ นำเรียนประวัติและกล่าวสดุดี

เรียน ท่านประธาน และผู้มีเกียรติที่เคารพ 

เรือนร่างอันปราศจากวิญญาณ / นอนสงบนิ่งบนจิตกาธาน / (อ่านว่า จิด-ตะ-กา-ทาน) ปรากฏ ณ เบื้องหน้าท่านทั้งหลายนั้น / เป็นของ ................................สกุล ............................... / ซึ่งได้จากญาติมิตรไป / อย่างไม่มีวันกลับ / ด้วยอาการอันสงบ / เพื่อประกาศเกียรติคุณ / แสดงความไว้อาลัย / และรำลึกถึงท่านเป็นวาระสุดท้าย / กระผมขออนุญาตเรียนเชิญ ......................................................สกุล.....................................นำเรียนประวัติและกล่าวคำไว้อาลัย / ต่อท่านประธานและผู้ร่วมพิธี / ขออนุญาตเรียนเชิญครับ


ตัวอย่างประวัติและคำไว้อาลัย

ชื่อผู้วายชนม์............................................

ในพิธีพฌาปนกิจศพ ณ ฌาปนสถานวัด.............................อำเภอ.....................จังหวัด...................

วัน....................ที่ .......เดือน....................พ.ศ. ๕๗....... เวลา............................น.


เรียน ...................................................ประธานในพิธี และท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ

ก่อนที่จะประกอบพิธีฌาปนกิจศพ / คุณแม่..............................................คณะเจ้าภาพซึ่งประกอบด้วยบุตร-ธิดา และหลาน ๆ  / ขอกราบขอบพระคุณท่านประธานในพิธี / และผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน ที่ได้ให้เกียรติแก่ผู้วายชนม์และครอบครัว / มาร่วมพิธีฌาปนกิจศพในวันนี้ /  เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณ และรำลึกถึงผู้วายชนม์เป็นวาระสุดท้าย /  กระผม....................................... ขอนำประวัติและคำไว้อาลัยมาเรียนให้ท่านผู้มีเกียรติเพื่อกรุณาทราบโดยสังเขป ดังนี้


( ชาติภูมิ )

คุณแม่..........................เกิดเมื่อวัน.........ที่......เดือน...................พุทธศักราช ......... ณ บ้านเลขที่.......................ตำบล....................................อำเภอ...........................................จังหวัด......................................เป็นบุตรคนที่........ของคุณพ่อ...............................และคุณแม่...................................


( การสมรส )

คุณแม่...............................................สมรสกับ คุณพ่อ...........................................เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔........มีบุตร รวม.............คน คือ

๑. ......................................................................................

๒........................................................................................


( เกียรติประวัติ )

คุณแม่.....................................................เป็นภรรยาที่ประเสริฐของสามี เป็นแม่ที่ประเสริฐของลูก ท่านถนอมเลี้ยงดูลูกทุกคนด้วยความรัก ให้ความอบอุ่นแก่ลูก เหมือนร่มโพธิ์ร่มไทรที่ให้ความร่มเย็นแก่ผู้อยู่ใต้ร่มเงา ท่านเป็นบุคคลสู้ชีวิตที่ยอดเยี่ยมท่านหนึ่ง เป็นผู้มีความอดทน วิริยะ อุตสาหะ มาตั้งแต่เยาว์วัย เพราะต้องรับภาระดูแลครอบครัว ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน คุณแม่.........................................ท่านทำงานทุกอย่างไม่ว่าจะหนักเหนื่อยสักเท่าไร ไม่เคยมีคำว่า “ย่อท้อ” อยู่ในหัวใจ เพราะมีลูกที่ต้องเลี้ยงดูถึง........คน ท่านพยายามทำงานทุกรูปแบบเพื่อสร้างฐานะครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง คุณแม่พยายามสอนให้ลูกทุกคนประพฤติตนเป็นคนดี มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร และดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้องดีงาม โดยที่คุณแม่เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องเหล่านี้ ความตั้งใจอันแน่วแน่ของท่านก็คือจะปลูกฝังลูกทุกคนให้เป็นคนดีมีคุณธรรมและให้ได้รับการศึกษาที่ดี และความตั้งใจ ความปรารถนาของท่านก็ผลิดอกออกผลอย่างงดงาม นั่นคือ ลูกทุกคนได้สนองตอบปณิธานของคุณแม่ โดยตั้งใจศึกษา เล่าเรียนจนจบการศึกษาในระดับสูงทุกคน ท่านได้อบรมเลี้ยงดูทายาทจนประสบความสำเร็จในชีวิต เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของชาติและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ เป็นอเนกอนันต์

นอกจากนี้ คุณแม่..............................................เป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ยินดีในการให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ได้บริจาคทรัพย์อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เนืองนิตย์มิได้ขาด และได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมเป็นอันมาก กอปรทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีย์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ท่านจึงเป็นที่รักยิ่งของญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

จากคุณงามความดีทุกสิ่งทุกประการที่คุณแม่ได้ทำเพื่อลูก เพื่อสังคมนั้น ปรากฎประจักษ์ชัดแก่สังคม ด้วยเหตุนี้คุณแม่จึงได้รับการยกย่องเชิดชูจากเพื่อนบ้านตลอดมา


(บั้นปลายชีวิต)

คุณแม่ป่วยและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล............................................. ตั้งแต่...../........../ ..... ด้วยโรค......................................... .คุณแม่ได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยอาการอันสงบ เมื่อวัน.............ที่........เดือน....................พ.ศ........................ รวมสิริอายุได้..........ปี .......เดือน..........วัน

การจากไปของ คุณแม่......................................ในครั้งนี้ สร้างความเศร้าโศกเสียใจอาลัยรัก แก่สามี บุตร - ธิดา หลาน ๆ และญาติมิตรเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นได้จากบทนิพนธ์ที่บุตร – ธิดา ได้ประพันธ์อนุสรณ์ถึงคุณแม่ว่า


แม่เป็นร่ม โพธิ์ทอง ของลูกหลาน แม่สร้างฐาน ชีวิต ลิขิตให้

พระคุณแม่ สุดจะเทียบ เปรียบสิ่งใด แม่จากไป ไม่กลับ ดับชีวิน

แม่เคยอยู่ เคยดู เมื่อลูกป่วย แม่เคยช่วย เคยปลอบ มอบทรัพย์สิน

แม่เคยฝาก ของใช้ ของให้กิน โอ้แม่สิ้น ลูกต้อง นองน้ำตา

ขอให้แม่ จงสู่ สุคติ สมดำริ บุญที่สร้าง ทางภพหน้า

สบสวรรค์ ครรลัย ในมรรคา เปรมปรีดา ในกุศล ผลบุญเทอญ


และการจากไปของคุณแม่............................................นั้น มิใช่เป็นความสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งของครอบครัว............................เท่านั้น แต่นับว่าเป็นการสูญเสียบุคคลที่มีค่าของประเทศชาติอีกด้วย

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพ ชีวิตและความตายเป็นของคู่กัน ที่ใดมีเกิดที่นั่นมีตาย ชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ถูกความเกิดและความแก่เบียดเบียน ย่อมเสื่อมสิ้นไปตามกาลเวลา ครั้นถึงกาลกำหนดแล้ว ย่อมจะแตกทำลายไป พระท่านจึงสอนสาธุชนให้เพียรสร้างความดีเป็นนิตย์ เพื่อความสงบสุขของชีวิตในปัจจุบัน เพื่อเป็นที่พึ่งพิงในโลกเบื้องหน้า และเพื่อฝากเกียรติคุณชื่อเสียงอันดีงามให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน ดังบทนิพนธ์ที่ว่า


ดินจะกลบลบกายวายสังขาร              ไฟจะผลาญเอาซากสิ้นสาบสูญ

แต่ความดียังมีอยู่คอยค้ำคูณ คอยเทิดทูนแทนซากที่จากไป


ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลคุณงามความดีที่ คุณแม่..................................ได้ประพฤติบำเพ็ญมาตลอดชีวิต ตลอดถึงบุญกุศลที่บุตร - ธิดา หลาน ๆ และญาติมิตร ได้ร่วมจิตบำเพ็ญทักษิณานุประทานอุทิศให้ในกาลครั้งนี้ จงเป็นพลวปัจจัยหนุนส่งให้ คุณแม่.................................ได้ไปสถิตเสวยอุดมสุข ในทิพยวิมานสุคติสถาน ในสัมปรายภพด้วยเทอญ ฯ


ขั้นตอนที่ 3

พิธีทอดผ้าไตรบังสุกุล

ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพครับ / การประกอบพิธีฌาปนกิจสรีระของ .......................... สกุล ................. / คณะเจ้าภาพอันประกอบด้วย ( บิดา – มารดา  สามี – ภรรยา  บุตร – ธิดา และญาติมิตร ) รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูง / และกราบขอบพระคุณยิ่ง / ที่ท่าน ......... .......(ยศ / ชื่อ – สกุล / ...........ตำแหน่ง........ .......) / กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานในวันนี้


บัดนี้ ... ได้เวลาประกอบพิธีฌาปนกิจสรีระของ ..............(ผู้วายชนม์) ...........................................

กระผมขออนุญาตเรียนเชิญท่านประธาน / ขึ้นทอดผ้าไตรบังสุกุล / และประกอบพิธีฌาปนกิจตามลำดับ / ขออนุญาตเรียนเชิญครับ


กราบนิมนต์พระคุณเจ้า ...........(ชื่อ – ฉายา) ...................วัด .........................

ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ ...............................................................

เป็นองค์พิจารณาผ้าไตรบังสุกุล / ขอกราบนิมนต์ครับ

  • ประธานฝ่ายสงฆ์ วางดอกไม้จันทน์ปลงธรรมสังเวช

  • ประธานฯ วางดอกไม้จันทน์ประชุมเพลิง

  • ประธานฯ ลงจากเมรุ

  • พิธีกรนิมนต์พระสงฆ์ และเรียนเชิญผู้ร่วมพิธีวางดอกไม้จันทน์

  • เสร็จพิธี

ดู 95,105 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page